ก่อหนาม เมล็ดนำไปคั่ว รับประทานได้

ก่อหนาม

ชื่ออื่นๆ : ก่อดาน (พังงา) ก่อตี๋, ก่อผา, ก่อหนามแหลม, ก่อหยุม (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด : พบทั่วไปบนภูเขาทางภาคเหนือ และพบเป็นกลุ่มๆบนภูเขาหินทราย ทางภาคอิสานตั้งแต่ระดับความสูง 900 เมตรขึ้นไป

ชื่อสามัญ : ก่อดาน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Castanopsis purpurea barnett

ชื่อวงศ์ : FAGACEAE

ลักษณะของก่อหนาม

ต้น ไม้ต้น ขนาดเล็กถึงกลาง สูง 5-20 เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเหลือง แตกล่อนเป็นสะเก็ดบางๆ

ใบ ใบรูปหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 10-15 ซม. โคนใบสอบเข้า ปลายใบเรียวแหลม มีส่วนย่นออกไปเป็นหาง ขอบใบเรียบ ใบเป็นมัน

ผล ผลกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม

ต้นก่อดาน
ต้นก่อดาน ใบเป็นมัน ปลายเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของก่อหนาม

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ก่อหนามต้องการ

ประโยชน์ของก่อหนาม

  • เมล็ด นำไปคั่ว รับประทานได้
  • เปลือกต้นหรือกิ่ง นำมาต้มน้ำอาบ ให้ร่างกายแข็งแรงอาจผสมกับเปลือกต้นไม้กูด ด้วยก็ได้ มีรสฝาด น้ำที่ได้มีสีแดง ช่วยบำรุงสมอง
ผลก่อดาน
ผลก่อดาน กาบหุ้มเมล็ดเป็นหนามแหลม

สรรพคุณทางยาของก่อหนาม

คุณค่าทางโภชนาการของก่อหนาม

การแปรรูปของก่อหนาม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10884&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment