ก้นจ้ำ วัชพืช ช่วยบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุลย์นิเวศน์วิทยา

ก้นจ้ำ

ชื่ออื่นๆ : ก้นจ้ำ (นครราชสีมา) ปืนนกไส้

ต้นกำเนิด : พันธุ์ไม้พื้นเมืองของทวีปอเมริกา

ชื่อสามัญ :  Spanish Needles

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bidens biternata (Lour.) Merr. et Sherff

ชื่อวงศ์ :  COMPOSITAE

ลักษณะของก้นจ้ำ

ต้น  ไม้ล้มลุกปีเดียว ลำต้นตั้ง แตกกิ่ง สูงได้ถึง 0.3-1.5 ม. ลำต้นสีเขียวค่อนข้างเป็นเหลี่ยม มีขน

ต้นก้นจ้ำ
ต้นก้นจ้ำ ลำต้นตั้ง สีเขียว

ใบ  ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามมีใบย่อย 3-5 ใบ บางใบเป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ก้านในประกอบยาว 9-15 ซม. ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่กลับ กว้าง 0.3-3.5 ซม. ยาว 1.5-6.5 ซม. ปลายแหลม โคนสอบคล้ายลิ่ม แผ่นใบทั้ง 2 ด้านเกลี้ยง หรือมีขนประปราย

ใบก้นจ้ำ
ใบก้นจ้ำ แผ่นใบทั้ง 2 ด้านเกลี้ยง หรือมีขนประปราย

ดอก  ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจุกแน่น ช่อเดียว ช่อแยกแขนง หรือช่อเชิงหลั่น (corymb) แต่ละช่อมีวงใบประดับ 8-10 อัน รูปแถบปลายแหลม ยาว 3-7 มม. ดอกวงนอกรูปลิ้น ไม่สมบูรณ์เพศ มี 1-5 ดอก หรือไม่มี กลีบดอกสีเหลือง หรือขาว ปลายกลีบจัก 2-3 จัก ดอกวงในมีหลายดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ กลีบดอกสีเหลือง โคนติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นจักแหลม 4-5 จัก กว้างประมาณ 3 มม. ยาวประมาณ 6 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ ออกดอกประมาณเดือนตุลาคม

ดอกก้นจ้ำ
ดอกก้นจ้ำ ดอกสีเหลือง เป็นแบบช่อกระจุกแน่น ช่อเดียว

ผล  ผลยาว 0.5-2 ซม. ติดบนฐานดอกเป็นกระจุกหัวแหลมท้ายแหลม มีสัน และร่องตามยาว ผล มีรยางค์แข็ง 2-4 อัน ติดที่ปลาย เมื่อแก่แห้งไม่แตก

การขยายพันธุ์ของก้นจ้ำ

การเพาะเมล็ด

ก้นจ้ำเป็นวัชพืชตามไร่ และสวน ตามข้างถนน และที่แห้งแล้ง

ธาตุอาหารหลักที่ก้นจ้ำต้องการ

ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง เจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมร่วนซุย

ประโยชน์ของก้นจ้ำ

  • ประดับสวนน้ำ
  • ไม้กระถาง
  • เป็นวัสดุในงานหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นแหล่งหลบซ่อนตัวของสัตว์น้ำวัยอ่อน
  • มีคุณสมบัติในการบำบัดน้ำเสีย ปรับสมดุลย์นิเวศน์วิทยา

สรรพคุณของก้นจ้ำ

  • ทั้งต้น ผสมกับรากสาบเสือ รากปืนนกไส้ ทั้งต้นผักปลาบ รากมะเหลี่ยมหิน ต้มน้ำดื่ม แก้ไอมีน้ำมูกข้น ผสมกับสมุนไพรอื่น ต้มน้ำดื่มแก้หวัด คัดจมูก หรืออาบแก้ไข้
  • ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดแล้วเอาน้ำมาใช้ ล้างตา แก้โรคตามัว หรือใช้ตำพอกแผลสด แผลน้ำร้อนลวก หรือแผลไฟไหม้ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของก้นจ้ำ

การแปรรูปก้นจ้ำ

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : www.rspg.or.th, www.pharmacy.su.ac.th, www.saki.siit.tu.ac.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment