ขนุน ผลนำมารับประทานได้ทั้งดิบและสุก

ขนุน

ชื่ออื่นๆ : ขะนู (ชอง-จันทบุรี) ขะเนอ (เขมร) ซีคึย, ปะหน่อย (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) นะยวยซะ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) นากอ (มลายู-ปัตตานี) เนน (ชาวบน-นครราชสีมา) มะหนุน (ภาคเหนือ,ภาคใต้) ล้าง,ลาน (ฉาน-เหนือ) หมักหมี้ (ตะวันออกเฉียงเหนือ) หมากกลาง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : เอเชียใต้

ชื่อสามัญ : Jack fruit tree

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Artocarpus heterophyllus

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะของขนุน

ต้น  ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร มียางขาวทั้งต้น

ใบ รูปร่างกลมรี ยาว 7-15 ซม. ก้านใบยาว 1-2.5 ซม. เนื้อใบเหนียวและหนา

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อดอกตัวเมียและตัวผู้จะอยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้จะออกที่ปลายกิ่ง เป็นแท่งยาวประมาณ 2.5 ซม. ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาวออกจากลำต้น กิ่งก้านขนาดใหญ่ ขนุนจะออกปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม และเมษายน – พฤษภาคม

ผล จะเป็นผลรวม ผลกลมและยาวขนาดใหญ่ ผิวมีหนามสั้น หนักหลายกิโลกรัม เมล็ดกลมรี เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง ถ้าสุกมีกลิ่นหอม ให้ผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

ต้นขนุน
ต้นขนุน ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มียางขาวทั้งต้น

การขยายพันธุ์ของขนุน

ใช้เมล็ด/การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์ขนุนสามารถทำได้หลายวิธีคือ
การใช้เมล็ด เป็นวิธีดั้งเดิมที่ปลูกกันมานาน สามารถขยายพันธุ์ได้ครั้งละมาก ๆ ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะสูงใหญ่ มีอายุยืน มีรากแก้วที่หยั่งลึกไม่โค่นล้ม ง่าย แต่ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดอาจกลายไปจากพันธุ์เดิม ชี่งอาจจะมีลักษณะที่ ดีกว่าพันธุ์เดิมหรือเลวกว่าพันธุเดิมก็ได้ ข้อเสียเปรียบอีกประการหนึ่งของต้นที่ได้ จากการเพาะเมล็ดคือ จะให้ผลช้ากว่าต้นที่ปลูกด้วยกิ่งตอนหรือกิ่งทาบ
1. การเตรียมเมล็ด เมล็ดที่จะนำมาเพาะให้เลือกจากต้นที่เติบโต แข็งแรง ผลสวย เนื้อดี ไม่มีโรคแมลงต่าง ๆ รบกวน และเป็นผลที่แก่เต็มที่หรือสุกแล้ว เมื่อเอา เนื้อออกแล้วให้ล้างเมล็ดด้วยน้ำจนสะอาด และนำไปเพาะทันทีอย่าเก็บเมล็ดไว้ นานเกิน 15 วัน เพราะจะเพาะไม่งอกหรืองอกน้อย ต้นที่งอกจะไม่ค่อยแข็งแรง
2. การเตรียมที่เพาะ
2.1 การเพาะจำนวนไม่มากนัก อาจจะเพาะในภาชนะ ต่าง ๆ เช่น กระถาง กระป๋อง และที่นิยมมากคือ ถุงพลาสติก ซึ่งสะดวกในการ เคลื่อนย้าย หรือการนำไปทาบกิ่ง ภาชนะที่จะใช้เพาะเมล็ด จะต้องมีรูระบายน้ำไม่ไห้ น้ำขังแฉะภายใน วัสดุเพาะให้ใช้ดินที่ร่วนซุย ดินที่ผสมปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก มาก ๆ ขนาดของภาชนะต้องใหญ่พอสมควร เพราะจะต้องเพาะเมล็ดอยู่นานกว่าจะ นำไปปลูกหรือนำไปทาบกิ่งได้
2.2 การเพาะเมล็ดจำนวนมาก ๆ ควรเพาะในกะบะเพาะ หรือในแปลงเพาะ ซึ่งทำได้ดังนี้คือ การเพาะในกะบะ กะบะเพาะอาจทำด้วยไม้ หรือใช้ลังไม้ที่มีอยู่แล้ว หรือเป็นกะบะพลาสติกก็ได้แล้วแต่ความต้องการ แต่ควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 8 นิ้ว วางกะบะเพาะไว้ในที่ร่มรำไร อย่าให้โดนแดดจัด เจาะรูที่ก้นกะบะหรือตีไม้ให้ ห่างเพื่อให้ระบายน้ำได้ รองก้นกะบะด้วยอิฐหักแล้วปูทับด้วยฟางหรือหญ้าแห้งเพื่อ ให้การระบายน้ำดี แล้วจึงใส่วัสดุเพาะลงไปในกะบะจนเกือบเต็ม วัสดุเพาะที่ใช้ได้ดี คือ ขี้เถ้าแกลบ หรือทรายหยาบผสมขี้เถ้าแกลบ เพราะเวลาย้ายต้นกล้าจะทำได้ ง่าย และยังมีลักษณะโปร่ง การระบายน้ำและอากาศดี ทำให้เมล็ดงอกได้ดีและสม่ำ เสมอ นอกจากนี้อาจใช้ดินที่ร่วนซุย โดยผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักมาก ๆ ก็ได้
การเพาะในเปลง แปลงเพาะควรเป็นแปลงดินอยู่ในที่ร่มรำไร หรือมีการ พรางแสงไม่ให้โดนแดดจัด โดยขุดแปลงเพาะเป็นร่องขนาดกว้าง l – 1.5 เมตร ความยาวแล้วแต่ต้องการ ควรยกแปลงให้สูงจากพื้นประมาณ 30-50 เซนติเมตร ปรับปรุงดินในแปลงเพาะให้ร่วนซุย และระบายน้ำได้ดีโดยการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก
3. วิธีเพาะเมล็ด เมล็ดที่ล้างสะอาดดีแล้วก่อนจะนำลงเพาะควรแช่เมล็ด ในน้ำยากำจัดเชื้อราประมาณ 10-20 นาที ป้องกันเชื้อราที่อาจติตมากับเมล็ด การเพาะในแปลงและในกะบะเพาะ ให้เพาะเป็นแถว ๆ ห่างกันประมาณ 5 นิ้ว ฝังเมล็ดลึกประมาณ 5 เชนติเมตร กลบดินแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

ธาตุอาหารหลักที่ขนุนต้องการ

ประโยชน์ของขนุน

ขนุน ผลดิบจะมีน้ำยางมาก นิยมนำมาทำเมนูอาหาร เช่น แกงขนุน หรือต้มแล้วนำมาทำตำขนุน ผลสุกนำมารับประทานเป็นผลไม้ หรือทำเมนูขนมหวาน เช่น ขนุนลอยแก้ว ข้าวเหนียวขนุน ไอศครีมขนุน ขนุนเชื่อม ขนุนอบแห้ง เป็นต้น

ขนุนที่นิยมปลูกกันทั่วไป มี 2 ประเภท คือ ขนุนหนัง และขนุนละมุด
ขนุนหนัง
ลักษณะเนื้อยวงแห้งกรอบ สีเหลืองทอง สีจำปา ยวงโต เนื้อแน่น หวาน กรอบ นิยมปลูกกันโดยทั่วไป ขนุนหนังมีอยู่หลายพันธุ์ เช่น จำปา ตาบ๊วย ฟ้าถล่ม เป็นต้น

ขนุนละมุด
ลักษณะเนื้อยวงเปียก เละเหนียว เนื้อค่อนข้างบาง ยวงเล็ก รสหวาน มีกลิ่นหอม ขนุนพันธุ์นี้ ไม่ค่อยนิยมปลูกกันมากนัก อีกพวกหนึ่ง ซึ่งนิยมปลูกกันมากทางภาคใต้ของประเทศไทยคือ จำปาดะ ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายขนุน ผลเล็กยาวเรียวคล้ายผลฟัก เปลือกบาง เนื้อเละ รสหวาน กลิ่นหอม การปลูกและการดูแลรักษา ก็ปฎิบัติเช่นเดียวกับการปลูก ขนุน

ขนุนพันธุ์อื่น ๆ
พันธุ์จำปากรอบ
ลักษณะผลไม่กลม ผิวไม่เรียบ ส่วนมากจะขรุขระยวงเนื้อสีจำปา เนื้อหวานปานกลาง ไม่หนาหรือบางเกินไป กรอบ ไม่เละหรือผลสุกแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายวัน รสชาติอร่อยมาก หวานกลมกล่อมอมเปรี้ยวเล็กน้อย ขนาดของผลจัดว่ามีขนาดใหญ่ปานกลาง น้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อผลประมาณ 15 – 18 กิโลกรัม จากผลที่มีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป ทำให้ขนุนพันธุ์นี้ออกผลดกปานกลาง ขนุนพันธุ์จำปากรอบเป็นขนุนที่น่าปลูกที่สุดในประเภทขนุนจำปา สำหรับใบมีลักษณะเป็นมันสีเขียวเข้ม ปลายใบแหลม ทรงพุ่มของขนุนพันธุ์นี้จะมีขนาดเล็กกว่าขนุนพันธุ์อื่นๆ ทำให้สามารถปลูกได้ชิดกว่า

พันธุ์ตาบ๊วย
ขนุนพันธุ์ตาบ๊วยที่มีการปลูกในปัจจุบันคงไม่ใช่พันธุ์ตาบ๊วยต้นเดิม จะเป็นขนุนที่ได้จากการนำเมล็ดของตาบ๊วยไปเพาะปลูก ซึ่งจะเป็นขนุนสีจำปาบ้างหรือสีเหลืองบ้างไม่แน่นอน ลักษณะของขนุนพันธุ์ตาบ๊วยก็คือ เป็นขนุนที่มีเนื้อยวงและซังเป็นสีจำปา มีลักษณะพิเศษกว่าขนุนธรรมดาคือ ผลมีขนาดใหญ่ รูปร่างกลม ไม่ยาว ขนาดของผลวัดโดยรอบประมาณ 110 – 130 เซนติเมตร ขนาดของยวงใหญ่ เนื้อหนา รสชาติหวานกรอบ แต่ไม่หวานสนิท หากตรงกับฤดูฝนความหวานจะลดลง ถ้าเลี้ยงไว้จนแก่จัดมักจะแตกและซังจะมีสีจำปา ถ้าแก่ไม่จัดซังจะมีสีขาว

พันธุ์ฟ้าถล่ม
เป็นขนุนที่ได้จากการเพาะเมล็ดของขนุนพันธุ์ตาบ๊วยที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ต้นด้วยกันคือ ต้นที่ปลูกอยู่ส่วนในของสวนเรียก ว่า ต้นใน อีกต้นหนึ่งปลูกอยู่ส่วนนอกของสวน เรียกว่า ต้นนอก แต่ปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงขนุนฟ้าถล่มจะหมายถึงขนุนฟ้าถล่มต้นนอก ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ ผลมีขนาดใหญ่มาก มีน้ำหนักตั้งแต่ 20 กิโลกรัมขึ้นไป เนื้อสีเหลืองทอง ยวงมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา รสชาติหวานสนิท มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลสูงมาก เนื้อจะกรอบ แม้ว่าจะแกะและเอาเมล็ดออกเก็บไว้ในตู้เย็น 3 – 7 วัน เนื้อก็ยังกรอบอยู่

พันธุ์ทองสุดใจ
ทรงพุ่มมีขนาดปานกลาง ไม่สูงจนเกินไปและโปร่ง ซึ่งต่างจากขนุนพันธุ์อื่นๆ ที่มีพุ่มหนาทึบกว่า ทั้งนี้อาจเนื่องจากลักษณะของใบเรียวเล็ก จึงทำให้ทรงพุ่มโปร่งมากขึ้น ผลมีขนาดใหญ่ รูปร่างของผลเรียบทั้งผล มีลักษณะเบี้ยวน้อยมาก แสดงให้รู้ว่าเกสรตัวเมียได้รับการผสมอย่างสมบูรณ์ นอกจากนี้ตั้งแต่ใต้ผิวของผลจะมีสีขาว เนื้อหรือยวงมีสีเหลืองขนาดใหญ่ เนื้อของยวงถ้าสุกเต็มที่จะแห้งกรอบ ความหวานปานกลาง ไม่หวานจัดเหมือนฟ้าถล่ม ถ้าฝนตกในระยะที่ผลสุกเนื้อจะอร่อยมาก ซังมีปริมาณน้อย ขนุนพันธุ์นี้ถ้าได้รับการตัดแต่งกิ่งที่แห้ง กิ่งมีโรคแมลงรบกวน และกิ่งที่ไม่จำเป็นออกบ้าง พร้อมกับให้การดูแลอย่างถูกต้องจะเป็นขนุนที่ให้ผลดกมากที่สุดพันธุ์หนึ่ง แต่จุดอ่อนของขนุนพันธุ์นี้คือ เมื่อถึงช่วงฝนตกชุกหรือฝนตกในขณะที่ติดผล ขนุนพันธุ์นี้จะดูดน้ำฝนเข้าไปอย่างเต็มที่ ทำให้รสชาติของเนื้อจืดชืด ความหวานลดลงไป

ขนุน
ขนุน ผลกลมและยาวขนาดใหญ่

สรรพคุณทางยาของขนุน

  • ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบ ราก (ขนุนละมุด) แก่นและราก ยาง เนื้อหุ้มเมล็ด เนื้อในเมล็ด รสและสรรพคุณในตำรายาไทย
    ใบ รสฝาดมัน รักษาหนองเรื้อรัง ใบสดนำมาตำให้ละเอียดอุ่นพอกแผล
  • ราก (ขนุนละมุด) รสหวานอมขม แก้ท้องร่วง แก้ไข้ แก้ธาตุน้ำกำเริบ โลหิตพิการ ฝาดสมาน บำรุงกำลัง บำรุงโลหิต
  • แก่นและราก รสหวานอมขม บำรุงโลหิต แก้กามโรค ขับพยาธิ ระงับประสาท แก้โรคลมชัก
  • ยาง รสจืด ฝาดเฝื่อน แก้อักเสบบวม แผลมีหนองเรื้อรัง แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ขับพยาธิ ขับน้ำนม
  • เนื้อหุ้มเมล็ด รสหวานมันหอม บำรุงกำลัง ชูหัวใจให้ชุ่มชื่น
  • เนื้อในเมล็ด รสหวานมัน บำรุงน้ำนม ขับน้ำนม บำรุงกำลัง
ขนุนสุก
ขนุนสุก เมล็ดกลมรี เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของขนุน

การแปรรูปของขนุน

ขนุนนิยมนำมาแปรรูปเป็น ไอศครีมขนุน ขนุนเชื่อม ขนุนอบแห้ง เป็นต้น

เนื้อขนุน
เนื้อขนุน เนื้อสีเหลือง มีกลิ่นหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9696&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

7 Comments

Add a Comment