ขาเปีย เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงกำหนัด ทำให้มีกำลังวังชา

ขาเปีย

ชื่ออื่นๆ : โป่งลม, ป่องลม, ดอกกุ่มก่าม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : โป่งลม

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hymenopyramis parvifolia Moldenke

ชื่อวงศ์ : LABIATAE

ลักษณะของขาเปีย

ต้น เป็นไม้ต้นกึ่งไม้เถา หรือเถารอเลื้อย ลำต้นทรงพุ่มใหญ่ เปลือกต้นสีขาวหรือสีเทา กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม กิ่งอ่อนมีขนสีเทาขึ้นปกคลุม ต้นมีความสูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกิ่งออกตรงข้ามกันตั้งฉากกับต้นหรือกิ่งใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน

ใบ ใบรูปไข่ โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ แผ่นใบบางขาดง่าย ผิวใบด้านล่างมีสีขาว มีขนเล็กๆปกคลุม ใบกว้างประมาณ 3-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร

ดอก เป็นดอกช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบดอกสีขาว เส้นเกสรตัวผู้สีขาวยาวออกมาพ้นกลีบดอกมองเห็นเป็นเส้นฝอยสีขาว

ผล ผลมีกลีบเลี้ยงขายเป็นแผ่นเชื่อมติดกันเป็นถุงสี่เหลี่ยมหุ้มเอาไว้ ผลข้างในมีลักษณะกลม เมื่อผลแห้งจะมองเห็นถุงหุ้มผลแห้งเป็นสีน้ำตาล

ต้นขาเปีย
ต้นขาเปีย เปลือกต้นสีขาวหรือสีเทา กิ่งอ่อนมีขนสีเทา
ใบขาเปีย
ใบขาเปีย ใบรูปไข่ ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ

การขยายพันธุ์ของขาเปีย

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขาเปียต้องการ

ประโยชน์ของขาเปีย

ตามความเชื่อสูตรยาโบราณพื้นบ้านอีสานบอกว่า เป็นยาบำรุงกำหนัด ทำให้มีกำลังวังชาขณะปฏิบัติกิจสามีภรรยาได้ยาวนานไม่เหน็ดเหนื่อย

ขนาดและวิธีใช้ คือ
ก่อนนำมาใช้ ให้ซื้อเหล้า 1 เท (เหล้าขาว 32 ขวด) มาตั้งทิ้งไว้ที่บ้านก่อนกินยา ถือเป็นการบูชาครู
ขาเปียเป็นยาชูกำลัง ใครจะกินต้องวัดขนาดการกินโดยใช้แขนตนเอง ทาบวัดขนาดกิ่งหรือลำต้นเท่ากับแขนของตน ตัดยาวเท่ากับคืบผู้กิน แล้วผ่า 4 ส่วนรูปกากบาท เอา 4 ชิ้นนี้ไปย่างไฟ ทำให้เนื้อไม้หอม นำไปต้มดื่มกินต่างน้ำ ให้สามีกิน ภรรยาห้ามกิน

ขาเปีย
ขาเปีย ดอกสีขาว

สรรพคุณทางยาของขาเปีย

  • เข้าตำรับยากับสมุนไพรชนิดอื่น เป็นยาแก้ประดง บำรุงเลือด น้ำเหลือง
  • แก่น ตากแดดเข้าตำรับยา ต้มดื่ม

คุณค่าทางโภชนาการของขาเปีย

การแปรรูปของขาเปีย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10611&SystemType=BEDO
http:// satit.msu.ac.th/medicinalplants/?page=news&read&id_herb=43

Add a Comment