ขิงแดง นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม

ขิงแดง

ชื่ออื่นๆ : ขิงแกลง, ขิงแดง (จันทบุรี) ขิงเผือก (เชียงใหม่) สะเอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

ต้นกำเนิด : หมู่เกาะแปซิฟิกใต้

ชื่อสามัญ : Red Ginger, Pink cone ginger, Ostrich plume

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alpinia purpurata (Vieill.) K.Schum.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของขิงแดง

ต้น ไม้ล้มลุกอายุหลายปี ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า ลำต้นเหนือดินสูง 0.5-1.4 เมตร

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับระนาบเดียว รูปใบหอกแคบ ปลายแหลมหรือเรียวแหลม โคนสอบ ขอบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย มีใบ 13-26 ใบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเป็นมัน เห็นเส้นใบชัดเจน ก้านแผ่นเป็นกาบ

ดอก ช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกดอกที่ปลายยอด ขนาดเล็ก ใบประดับสีแดงซ้อนกันหลายชั้น ดอกรูปกรวย ออกจากซอกกาบรองดอก มีกลิ่นหอมอ่อนๆ

ขิงแดง
ขิงแดง ใบหอกแคบ ปลายแหลมหรือเรียวแหลม

การขยายพันธุ์ของขิงแดง

การแยกหน่อ

การปลูก ชอบดินที่ระบายน้ำดี ชอบน้ำมาก ทนน้ำท่วมขังได้ดี แสงแดดเต็มวันหรือครึ่งวัน

ธาตุอาหารหลักที่ขิงแดงต้องการ

ประโยชน์ของขิงแดง

นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ เพื่อความสวยงาม นำไปปักแจกันในอุณหภูมิปกติ อยู่ได้นาน 4-5 วัน เหมาะปลูกมุมอาคาร บังกำแพง ริมลำธาร น้ำตก ปลูกริมถนน ทางเดิน สระว่ายน้ำ ริมทะเล

ดอกขิงแดง
ดอกขิงแดง ดอกรูปกรวย ออกเป็นช่อมีใบประดับสีแดงซ้อนกัน

สรรพคุณทางยาของขิงแดง

  • เหง้า ขับลม แก้ท้องเสีย แก้ธาตุพิการ ช่วยย่อยอาหาร
  • ราก แก้กามตายด้าน บำรุงกำหนัด

คุณค่าทางโภชนาการของขิงแดง

การแปรรูปของขิงแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11584&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment