ข้าวฟ่าง พืชตระกูลหญ้า เป็นพืชฤดูเดียวหรือล้มลุก

ข้าวฟ่าง

ชื่ออื่นๆ : ข้าวฟ่าง, ข้าวฟ่างหางช้าง หรือ ข้าวฟ่างสมุทรโคดม

ต้นกำเนิด : เอธิโอเปีย

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sorghum bicolor (L.) Moench

ชื่อวงศ์ : Poaceae

ลักษณะของข้าวฟ่าง

จัดเป็นพืชตระกูลหญ้า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะมีลำต้นเดียว แต่อาจจะแตกกอหรือหน่อได้แล้วแต่ชนิดและพันธุ์ของข้าวฟ่าง โดยทั่วไปข้าวฟ่างพวกที่ใช้ประโยชน์จากเมล็ดจะไม่มีการแตกหน่อ ยกเว้นกรณีที่ต้นเดิมหรือยอดถูกทำลายไปก็จะมีการแตกหน่อขึ้นมาใหม่ ข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นพืชฤดูเดียวหรือล้มลุก คือ ออกดอกให้เมล็ดแล้วก็ตายไป แต่มีข้าวฟ่างหลายประเภทที่สามารถอยู่ข้ามปีได้โดยการแตกกอจากต้นเดิม ส่วนประกอบที่สำคัญของข้าวฟ่างมีดังนี้ คือ ราก ข้าวฟ่างมีระบบรากฝอย (fibrous root system) รากที่เกิดจากเมล็ดโดยตรงมีรากเดียวและจะมีรากเล็กๆ แตกออกมาจากรากนี้ เรียกว่ารากแขนง เมื่อต้นอ่อนของข้าวฟ่างใช้อาหารจากคัพภะหรือเอ็มบริโอ (embryo) จวนหมด จะเริ่มมีรากเป็นจำนวนมากแตกออกจากข้อของลำต้นที่อยู่ใต้ดิน ซึ่งจะแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางทั้งแนวราบและแนวลึก รากของข้าวฟ่างนี้มีปริมาณมากกว่ารากข้าวโพดประมาณ 2 เท่า นอกจากนี้แล้ว ตรงปลายรากชั้นในยังมีสารประกอบพวกซิลิกาอยู่ด้วย ทำให้รากข้าวฟ่างแข็งแรงสามารถชอนไชไปในดินได้ดีกว่ารากข้าวโพด จึงทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีกว่า ตรงข้อเหนือดินอาจมีรากแตกออกมา รากพวกนี้เป็นรากอากาศ ซึ่งช่วยในการค้ำจุนลำต้นไม่ให้ล้มได้ง่าย

ต้นข้าวฟ่าง
ต้นข้าวฟ่าง ลำต้นจะมีข้อ ปล้องใบและกาบใบ ห่อหุ้ม

ต้น ลำต้นข้าวฟ่างมีความสูงแตกต่างกันตั้งแต่ 45 เซนติเมตร ถึงกว่า 4 เมตร แต่ข้าวฟ่างที่นิยมปลูกกันทั่วไปจะมีลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นอยู่ระหว่าง 5 มิลลิเมตร ถึง 3 เซนติเมตร ลำต้นจะเจริญเติบโตตั้งตรงเหมือนพืชทั่วไป ลำต้นจะมีข้อ ปล้องใบ และกาบใบ ห่อหุ้มอยู่ทุกๆ ข้อของต้นจะมีตาแต่จะไม่มีการเจริญ ยกเว้นตาตรงข้อต่ำสุดที่จะเจริญเป็นหน่อหรือกอและกิ่งก้าน ซึ่งจะกลายไปเป็นต้นใหม่ได้ ลำต้นของข้าวฟ่างค่อนข้างแข็งภายในลำต้นจะมีลักษณะคล้ายฟองน้ำ มีรูอยู่ตรงแกนกลาง บางพันธุ์มีน้ำซึ่งอาจมีรสหวานหรือไม่มีรสเลย และบางพันธุ์อาจแห้ง

ใบ ข้าวฟ่างที่ปลูกอยู่ทั่วไปมีใบอยู่ระหว่าง 7 ถึง 24 ใบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ใบอ่อนของข้าวฟ่างตั้งตรง ขณะที่ใบแก่โค้งลง ใบจะเกิดตามข้อและสลับด้านกันไปตลอดลำต้น ใบแก่มีความยาวของใบตั้งแต่ 30-135 เซนติเมตร ความกว้างของใบอยู่ระหว่าง 1.5-15 เซนติเมตร ใบมีลักษณะเป็นรูปใบหอกหรือใบหอกเรียวๆ ขอบใบอาจมีลักษณะเรียบตลอดหรือเป็นคลื่น ใบอ่อนขอบใบจะสากมือและใบแก่จะเรียบลื่น บนเส้นกลางใบใกล้กับฐานใบจะมีขนสั้นๆ ส่วนที่ผลิตขี้ผึ้งจะอยู่ตรงบริเวณข้อต่อของเส้นกลางใบกับกาบใบ กาบใบ กาบใบจะหุ้มอยู่รอบต้นโดยซ้อนวนเริ่มจากขวาทับซ้ายแล้วซ้ายทับขวา กาบใบอาจจะมีความยาวตั้งแต่ 15-35 เซนติเมตร ด้านหน้าของกาบใบอาจมีขี้ผึ้งปกคลุมอยู่ ตรงฐานหรือโคนของกาบใบส่วนที่ติดกับข้อจะมีแถบขนสั้นๆ สีขาวติดอยู่ด้วย

ช่อดอก ช่อดอกข้าวฟ่างเกิดจากปล้องบนสุดของต้น ซึ่งจะเป็นปล้องที่ยาวที่สุดด้วย ช่อดอกประกอบด้วย ก้านช่อดอก แกนกลางของช่อดอก กิ่งแขนงและกิ่งย่อยช่อดอก ซึ่งเป็นที่เกิดของดอกและเมล็ด ดอกของข้าวฟ่างมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดแรกเป็นดอกที่ไม่มีก้านซึ่งเป็นดอกสมบูรณ์เพศ และจะพัฒนาไปเป็นเมล็ด ดอกอีกชนิดหนึ่งเป็นดอกที่มีก้านดอก ดอกชนิดนี้จะเป็นหมัน มีแต่เกสรตัวผู้เท่านั้น ช่อดอกของข้าวฟ่างจะมีลักษณะหลวมหรือแน่น สั้นหรือยาว และอาจตั้งตรงหรือโค้ง ขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ของข้าวฟ่าง พวกข้าวฟ่างไม้กวาด หญ้าซูดาน และข้าวฟ่างหวานบางพันธุ์มักจะมีช่อดอกหลวมมาก ส่วนข้าวฟ่างเมล็ดโดยทั่วไปมักจะมีช่อดอกแน่นและมีจำนวนเมล็ดมากกว่า จำนวนดอกสมบูรณ์ในแต่ละช่อดอกอาจมีถึง 6,000 ดอก ปกติแล้วการบานของดอกข้าวฟ่าง ตลอดทั้งช่อดอก ใช้เวลาประมาณ 6-9 วัน ในท้องถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจใช้เวลานานกว่านั้น โดยธรรมชาติข้าวฟ่างเป็นพืชผสมตัวเอง คือ เกสรตัวผู้ผสมกับเกสรตัวเมียภายในต้นเดียวกัน แต่อาจจะมีการผสมข้ามโดยเกสรตัวผู้จากต้นหนึ่งไปผสมกับเกสรตัวเมียของอีกต้นหนึ่ง โดยลมหรือแมลงได้ถึงร้อยละ 15

ช่อดอกข้าวฟ่าง
ช่อดอกข้าวฟ่าง ช่อดอกตั้งตรง สีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของข้าวฟ่าง

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดพันธุ์มาว่านได้เลย

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวฟ่างต้องการ

ประโยชน์ของข้าวฟ่าง

นำมาผลิตเป็นอาหารสัตว์ และใช้เป็นพืชเชื้อเพลิง

สรรพคุณทางยาของข้าวฟ่าง

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวฟ่าง

เมล็ดข้าวฟ่างมีแทนนินซึ่งทำให้โปรตีนในข้าวฟ่างย่อยได้น้อย โปรตีนในข้าวฟ่างส่วนใหญ่เป็นโพร์ลามีนที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร โปรตีนที่มีประโยชน์มีเพียง 8-9% ขาดกรดอะมิโน 3 ชนิดคือ ไลซีน เมทไทโอนีน และทรีโอนีน ลำต้นของข้าวฟ่างมีสารกลุ่มคูร์รินซึ่งจะสลายตัวได้เป็นกรดไฮโดรไซยานิก ที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ สารนี้มีมากในใบอ่อนและหน่อ และต้นที่พบปัญหาแล้งจัด ต้นที่อายุมากขึ้น กรดไฮโดรไซยานิกจะลดลง เมื่อเป็นหญ้าแห้งหรือหญ้าหมัก สารนี้จะสลายตัวไป

การแปรรูปของข้าวฟ่าง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11172&SystemType=BEDO
https://th.wikipedia.org
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment