ข้าวโพดข้าวเหนียว นำมาประกอบอาหารหรือเป็นอาหารสัตว์ได้

ข้าวโพดข้าวเหนียว

ชื่ออื่นๆ : ข้าวโพดเทียน, ข้าวสาลี, ข้าวป้าง (ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Waxy corn

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Zea mays ceratina

ชื่อวงศ์ : POACEAE

ลักษณะของข้าวโพดข้าวเหนียว

ต้น เป็นพืชล้มลุก มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เจริญเติบโตได้ง่ายๆ ลำต้นตั้งตรงแข็งแรง ลำต้นมีลักษณะอวบกลม มีแก่นเนื้อคล้ายฟองน้ำ มีข้อและปล้อง มีขนหยาบๆปกคลุม ต้นมีสีเขียว

ใบ ใบมีลักษณะยาวรี ก้านใบออกหุ้มรอบๆลำต้น มีขนเล็กๆปกคลุม มีสีเขียว ออกเป็นช่อดอก ดอกตัวเมีย มีลักษณะทรงกรวยยาว มีกาบบางๆมีสีเขียว หลายชั้นล้อมรอบ มีเส้นคล้ายเส้นไหมยาว มีสีน้ำตาลม่วงอ่อน สีม่วงอ่อน หรือสีเหลืองส้ม ออกอยู่ด้านบนเป็นกระจุก ก้านช่อดอกสั้น

ดอก ดอกออกตามกาบของใบและลำต้น ดอกตัวผู้ออกปลายยอด มีดอกย่อยเล็กๆ มีเกสรสีเหลืองเบาปลิวกระจายได้

ผล ผลเป็นฝัก มีลักษณะทรงกระบอก หุ้มด้วยกาบบางๆหลายชั้นรอบฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว ฝักแก่กาบจะแห้ง มีสีน้ำตาลนวล ข้างในมีเส้นคล้ายเส้นไหมยาว หุ้มเมล็ดอยู่ประปราย และมีเมล็ดเรียงอยู่สม่ำเสมอในฝัก เมล็ดมีลักษณะทรงกลมแบนเล็กๆ มีเยื่อหุ้มเมล็ดผิวเรียบบางใส มีสีเหลือง มีสีขาว สีขาวนวล สีส้ม สีม่วง หรือมีหลายสีในฝักเดียวกัน มีรสชาติหวานมัน เมล็ดอ่อนมีเนื้อเหนียวนุ่มฉ่ำน้ำ เหนียวคล้ายขี้ผึ้ง เมล็ดแก่จะแข็งมาก

ต้นข้าวโพดข้าวเหนียว
ต้นข้าวโพดข้าวเหนียว ลำต้นอวบ ใบยาวรี

การขยายพันธุ์ของข้าวโพดข้าวเหนียว

ใช้เมล็ด/นำเมล็ดข้าวโพดหยอดลงในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละ 1-2 เมล็ด โดยใช้ระยะระหว่างหลุม 25-30 เซนติเมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ 1.5-2 กิโลกรัม หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก หากหลุมใดไม่งอกก็จะทำการซ่อมและย้ายปลูกจากหลุมที่มี
ในการปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว เกษตรกรในเขตตำบลท่าแร่จะทำการเพาะกล้าข้าวโพดในแปลงเพาะก่อน เมื่อต้นข้าวโพดสูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร จึงทำการย้ายกล้าไปปลูกในแปลงปลูกต่อไป โดยใช้ระยะปลูก 30 x 30 เซนติเมตรโดยปลูกเป็นแบบแถวคู่

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวโพดข้าวเหนียวต้องการ

การดูแลรักษา
การให้น้ำ การให้น้ำโดยการปล่อยน้ำเข้าร่องแปลงปลูกทุก 2-3 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน โดยใช้แหล่งน้ำจากบ่อน้ำตื้น หรือบ่อบาดาลหรือคลองซอยจากเขื่อนชลประทานน้ำอูน
การใส่ปุ๋ย หลังจากต้นกล้างอกประมาณ 14-20 วัน จะใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 หรือใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 ผสมกับปุ๋ยสูตร 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้าง ๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนจะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น
การป้องกันกำจัดศัตรูพืช การกำจัดวัชพืชจะกระทำพร้อมกับการใส่ปุ๋ยและการกลบโคนต้น และมีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงพวกหนอนเจาะฝักหรือเจาะลำต้น โดยการฉีดพ่นเซฟวิน 1-2 ครั้ง

ประโยชน์ของข้าวโพดข้าวเหนียว

ข้าวโพดข้าวเหนียวนำมารับประทาน ทำเครื่องดื่มต่างๆได้ นำมาประกอบอาหารต่างๆ หลายเมนู เช่น ข้าวโพดต้ม นึ่ง และยังนำไปเป็นอาหารสัตว์ได้อีก

ข้าวโพดข้าวเหนียว
ข้าวโพดข้าวเหนียว มีเมล็ดผิวเรียบบางใส มีสีเหลือง สีขาว สีขาวนวล สีส้ม สีม่วง หรือมีหลายสีในฝักเดียวกัน

สรรพคุณทางยาของข้าวโพดข้าวเหนียว

  • ช่วยบำรุงปอด
  • ช่วยบำรุงหัวใจ
  • ช่วยบำรุงตับ
  • ช่วยรักษาตับอักเสบ
  • ช่วยรักษาไตอักเสบ
  • ช่วยระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ช่วยขับปัสสาวะ
  • แก้ท้องร่วง
  • แก้บิด
  • ช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร
  • ช่วยรักษาไข้ทับระดู
  • ช่วยรักษาปอดอักเสบ
  • แก้คลื่นไส้อาเจียน
  • ช่วยบำรุงร่างกาย
  • ช่วยเจริญอาหาร
  • ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน
  • ช่วยลดคอเรสเตอรอลในเลือด
  • ช่วยป้องกันโรคหัวใจ
  • ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง
  • ช่วยย่อยอาหารในลำไส้
  • มีอนุมูลอิสระ ช่วยชลอชรา
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณ
  • ช่วยบำรุงสายตา
  • แก้ไข้ แก้หวัด
  • ช่วยบำรุงความจำ
  • ช่วยรักษาแผลอักเสบ
  • ช่วยรักษาแผลสด

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวโพดข้าวเหนียว

การแปรรูปของข้าวโพดข้าวเหนียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11190&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment