ครั่ง (ภาคอีสาน) ใช้เป็นสีย้อมผ้าไหมและหนังสัตว์

ครั่ง (ภาคอีสาน)

ชื่ออื่นๆ : ครั่งดุ้น, ครั่งดิบ, ครั่ง, จุ้ยเก้ง

ต้นกำเนิด : –

ชื่อสามัญ : Lac , Laccifer lacca

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tachardia lacca Kerr

ชื่อวงศ์ : Moraceae

ลักษณะของครั่ง (ภาคอีสาน)

ครั่ง คือ ยางหรือชันชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่ขับถ่ายออกจากตัวแมลงครั่ง แมลงครั่งจะอาศัยอยู่ตามกิ่งไม้ที่ใช้เลี้ยงครั่ง และใช้ปาก ซึ่งมีลักษณะเป็นปากดูดเจาะเข้าไปในกิ่งของต้นไม้เพื่อดูดน้ำเลี้ยงมาเป็นอาหารและขับถ่ายครั่งออกมาจากภายในตัวครั่งตลอดเวลา เพื่อห่อหุ้มตัวเป็นเกราะป้องกันอันตรายจากสิ่งภายนอก มีลักษณะนิ่มเหนียวสีเหลืองทอง เมื่อถูกอากาศนานเข้าจะแข็งและมีสีน้ำตาล ครั่งที่เก็บได้จากต้นไม้เรียกว่าครั่งดิบ ซึ่งมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ เรซิน ขี้ผึ้ง สี ซาก ตัวครั่ง และสารอื่น ๆ ส่วนที่ใช้เป็นประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมคือ สีครั่ง และเนื้อครั่ง พืชที่ใช้เลี้ยงครั่งจามจุรี พุทรา สะแกนา ปันแถ สีเสียดออสเตรเลีย การเลี้ยงครั่งเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงนั้น แมลงครั่งจะเกาะทำรังมาก ซึ่งทำให้สามารถกะเทาะครั่งดิบได้มาก และมีคุณภาพจะขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของต้นไม้ อายุของต้นไม้และอายุของกิ่ง จำนวนครั่งที่ปล่อยพันธุ์ครั่ง ฤดูที่เลี้ยงครั่ง ศัตรูของครั่ง ตลอดจนประสบการณ์ของผู้เลี้ยงเอง

ครั่ง
ครั่ง มีลักษณะ นิ่ม เหนียว

การขยายพันธุ์ของครั่ง (ภาคอีสาน)

ใช้ส่วนอื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่ครั่ง (ภาคอีสาน)ต้องการ

ประโยชน์ของครั่ง (ภาคอีสาน)

ประโยชน์ : การนำครั่งมาใช้ประโยชน์ในครอบครัวและในทางอุตสาหกรรมได้กระทำมานานแล้วในอดีต โดยใช้สีแดงจากครั่งเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาโรคโลหิตจาง  นอกจากนี้ยังใช้เป็นสีย้อมผ้าไหมและหนังสัตว์การใช้ยางครั่งได้มีหลักฐานปรากฏเมื่อสี่ร้อยกว่าปีมาแล้ว ในระยะแรกมีการนำยางครั่งมาทำให้บริสุทธิ์และนำมาตกแต่งเครื่องใช้ เครื่องเรือนให้สวยงาม ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยการใช้ประโยชน์จากยางครั่งมากมาย และสามารถพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครั่งเพื่อประโยชน์ทางอุตสาหกรรมและอื่น ๆ สีจากครั่งได้จากการสกัดน้ำล้างครั่ง โดยสารละลายด่างชนิดอ่อน เช่น โซเดียมคาร์บอเนต หรือ โซเดียมไบคาร์บอเนต เมื่อแยกเอาส่วนที่ไม่ละลายออกเหลือแต่น้ำครั่งแล้วเอาไปเคี่ยวให้แห้ง ผึ่งและบดเป็นผงนำไปใช้ได้สีจากครั่งนี้ใช้ย้อมผ้าไหม ย้อมขนสัตว์ และใช้ผสมปรุงอาหารและขนม จากการวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า สีจากครั่งไม่เป็นพิษแก่ร่างกายแต่อย่างใด

สรรพคุณทางยาของครั่ง (ภาคอีสาน)

สีแดงจากครั่งเป็นสมุนไพรสำหรับรักษาโรคโลหิตจาง

คุณค่าทางโภชนาการของครั่ง (ภาคอีสาน)

การแปรรูปของครั่ง (ภาคอีสาน)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11730&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment