คุณค่าทางอาหารจากส่วนต่างๆ ของกล้วย- พืชที่นำมาเป็นอาหารสัตว์ได้ดี

กล้วย

กล้วย ชื่อทั่วไปว่า กล้วย รวมถึง กล้วยน้ำว้า กล้วยตีบ กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยป่า และกล้วยครก ชื่อสามัญ Banana
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa sapientum Linn., paradisaca Linn. วงศ์ MUSACEAE กล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่าย มีการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์เร็ว ปลูกได้ในดินแทบทุกชนิด นิยมปลูกแพร่หลายทุก ภาคของประเทศไทย ขนาดความสูงของต้นกล้วยเมื่อโตเต็มที่อยู่ระหว่าง 3-5 เมตร ลำต้นกล้วยต้นโตๆ อาจจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 30 เซนติเมตร ใบกล้วยมีความยาวตลอดใบ 2-3 เมตร และกว้าง 30-60 เซนติเมตร ต้นกล้วยที่โตเต็มที่ จะมีใบขนาดต่างๆ รวม 15-20 ใบ ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกล้วย และความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกกล้วย สามารถ ขยายพันธุ์โดยใช้หน่อ หมายถึงต้นกล้วยเล็กๆ ที่เจริญมาจากตาของต้น กล้วยที่โตเต็มที่ แล้วการขยายพันธุ์กล้วยทำได้ทุกฤดู แต่ในฤดูฝนต้นกล้วยจะตั้งตัว และเจริญเติบโตได้เร็ว ในสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอต้นกล้วย จะแตกใบ และให้ผลผลิตตลอดปี ต้นกล้วยที่สมบูรณ์เต็มที่อาจจะ ให้ผลกล้วยมากถึง 200 ผล และมีน้ำหนักรวมถึง 20 กิโลกรัม เนื่องจากกล้วยเป็นพืชที่ปลูกแพร่หลายตามบ้านเรือนของเกษตรกร มักจะปลูกต้นกล้วยเพื่อเป็นร่มเงา และเก็บใบกล้วยมาใช้สอยเป็นครั้งคราว ต้นกล้วยมีการแตกหน่อแตกใบให้ ผลผลิตตลอดทั้งปี ปัจจุบันเกษตรกรจำนวน มากหันมาปลูกกล้วยเป็นอาชีพหลักเมื่อเก็บผลกล้วยที่แก่เต็มที่แล้ว จะต้องตัดต้นกล้วยทิ้ง ทั้งต้นเพื่อให้หน่อกล้วย เจริญเติบโตแทนที่ต้น กล้วยใบกล้วย เหง้า ของกล้วยรวมทั้งเปลือกกล้วย จึงเป็นผลพลอยได้ที่น่าจะเป็นแหล่งอาหารสำหรับเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญแห่งหนึ่ง

ต้นกล้วย เรื่องกล้วยๆ ประโยชน์ของต้นกล้วย
ต้นกล้วย เรื่องกล้วยๆ ประโยชน์ของต้นกล้วย กล้วยพันธุ์ไม้ผลเครือมีประโยชน์และสรรพคุณสารพัด ตั้งแต่ใบกล้วย ผลกล้วย ปลีกล้วย ก้านกล้วย และลำต้นของกล้วย

คุณค่าทางอาหารจากผลิตผลของต้นกล้วย

สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ (2562) กรมปศุสัตว์  ได้นำส่วนต่างๆ ของกล้วยมาทำการ วิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมี เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ความเหมาะสม และแนวทางการนำผลิตผลจากต้น กล้วย ส่วนต่างๆ มาใช้เลี้ยงสัตว์รวมทั้งการพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูล กับผลการวิจัยของต่างประเทศพบว่า ผลิตผลหรือผลพลอยได้ต่างๆ จากการปลูกกล้วย มีศักยภาพและมีความเหมาะสมที่จะนำมาเลี้ยงสัตว์ได้ดี

ใบกล้วยสด
ใบกล้วยสด มีสีเขียวเข้ม มีวัตถุแห้งประมาณ 28 เปอร์เซ็นต์ และมีน้ำมากถึง 72 เปอร์เซ็นต์ มีสารอาหารที่สำคัญ เช่น โปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ มีเยื่อใยประมาณ 24 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารของใบกล้วยสด กับพืชอาหารสัตว์อื่นๆ จะเห็นว่า ใบกล้วยสดมีระดับโปรตีนใกล้เคียงกับหญ้าขนสด (ใบกล้วยมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้ง 12 เปอร์เซ็นต์ หญ้าขนมีโปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์ โดยประมาณ) ส่วนใบของกล้วยไม่รวมก้านใบมี โปรตีนใกล้เคียงกับพืชตระกูล ถั่ว ใบสดของต้นกล้วยจึงเป็นผลพลอยได้ที่น่าจะนำมาใช้เป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโค -กระบือ ร่วมกับฟางข้าวและหญ้าแห้ง จะทำให้โค-กระบือกินอาหารมากขึ้น การนำใบกล้วยหั่นเป็นฝอยตากแห้งแล้ว นำมาผสมอาหารข้น เลี้ยงสุกรหรือสัตว์ปีก อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่น่าจะลดต้นทุนการผลิตได้ เนื่องจากใบกล้วยมีเยื่อใยสูงไม่มากนัก สัตว์กระเพาะเดี่ยวสามารถใช้ประโยชน์ได้มากพอสมควร ข้อน่าสังเกต อีกประการหนึ่งคือ ใบกล้วยมีระดับ ไขมันค่อนข้างสูง น่าจะใช้เป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์ได้ค่อนข้างดีแหล่งหนึ่ง

ใบกล้วย
ใบกล้วย ก้านใบสีเขียว ใบสีเขียว

ต้นกล้วย
ต้นกล้วยส่วนที่เราเห็นโผล่พ้นจากดินนั้น อันที่จริงเป็นก้านใบของกล้วย ในทางวิชาการถือว่าเป็นลำต้นเทียมประกอบด้วย ก้านใบจำนวนมากอัดกันแน่นเป็นชั้นๆ ชั้นนอกสุดมีความแข็ง และเหนียวมากกว่าก้านใบที่อยู่ด้านใน จากผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของต้นกล้วย โดยกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์ พบว่า ต้นกล้วยสดมีน้ำเป็นส่วนประกอบประมาณ 95 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง ใกล้เคียงกับฟางข้าว มีเยื่อใยคิดจากน้ำหนักแห้ง 26.1 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตามระดับเยื่อใยในต้ำนกล้วยค่อนข้างต่ำ จึงสามารถใช้ต้นกล้วยเป็นอาหารเลี้ยงสุกร ซึ่งเป็นสัตวกระเพาะเดี่ยวได้ นอกจากนั้นยังพบว่า ต้นกล้วยมีระดับแร่ธาตุแคลเซียม ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ โปแตสเซียมประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ฟอสฟอรัส 0.1 เปอร์เซ็นต์ แมกนีเซียม ประมาณ 0.42 เปอร์เซ็นต์ แร่ ธาตุแมงกานีส
ทองแดง เหล็ก และสังกะสีประมาณ 2.87, 0.05, 6.37 และ 1.41 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักแห้ง 100 กรัม

ต้นกล้วย
ต้นกล้วย ไม้ล้มลุก ลำต้นสูง

เปลือกกล้วย
ต้นกล้วยจะสามารถให้ผลเมื่อโตเต็มที่ ในสภาพดินอุดมสมบูรณ์ และมีน้ำเพียงพอ ต้นกล้วยจะให้ผลหลังจากปลูกประมาณ 6 เดือน และให้ผลตลอดทั้งปี ผลกล้วยจะเกาะกันเป็นกลุ่มเรียกว่า หวี แต่ละหวีมจำนวน 10-15 ผล กล้วยต้นโตๆ อาจจะให้ผลมากถึง 10-15 หวี มีน้ำหนักผลกล้วยสดมากถึง 20 กิโลกรัม  เปลือกกล้วยเป็นผลพลอยได้จาก ผลของกล้วย ตามปกติเมื่อเรารับประทานกล้วยสุกจะต้องปอกเปลือกของกล้วยทิ้งไป อันที่จริงเปลือกกล้วยยังสามารถนำมาใช้เลี้ยงสัตว์ได้ เนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากินอยู่มาก สัตว์แทบทุกชนิดชอบกินเปลือกกล้วย โดยเฉพาะสุกร โค-กระบือ แม้กระทั่งสัตว์ปีกก็ชอบกินเปลือกกล้วย เปลือกกล้วยมีโปรตีน คิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 7 เปอร์เซ็นต์ มีไขมันคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ
10 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์ของเปลือกกล้วย เปลือกกล้วยทําอะไรได้บ้าง
เปลือกกล้วยสุก

ผลกล้วย
ผลกล้วยเมื่อแก่เต็มที่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 60-70 เปอร์เซ็นต์มีวัตถุแห้ง ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ มีแป้งคิดจากน้ำหนักแห้งประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกล้วยสุกแป้งจะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลทำให้มีรสหวานอาจจะมีกลิ่นหอมด้วยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกล้วย  สัตว์ทุกชนิดชอบกินผลกล้วยสุกเนื่องจากมีความหวาน และมีความน่ากิน ผลกล้วยน่าจะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับสัตว์มากกว่าโปรตีน เพราะมีโปรตีนคิดจากน้ำหนักแห้งเพียง 3-5 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น และทำให้สัตว์ฟื้นจากการป่วยเร็วขึ้น ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากกล้วยสุกมีรสหวานมีความน่ากิน เป็นการกระตุ้นให้สัตว์กินอาหาร และในกล้วยสุกมีพลังงานสู งสามารถย่อยได้มาก ทำให้สัตว์ได้รับพลังงานในเวลารวดเร็ วทำให้สัตว์มีความแข็งแรงเร็วขึ้น การใช้ผลกล้วยเลี้ยงสุกร ควรใช้ผลกล้วยสุก เพราะสุกรจะชอบกินมากกว่าผลดิบ อย่างไรก็ตามถ้าให้สุกรกินกล้วยสุกเพียงอย่างเดียวจะทำให้สุกรท้องเสีย ดังนั้น เกษตรกรจะต้องเสริมอาหารข้นที่มีโปรตีน 10-22 เปอร์เซ็นต์ วันละ1-2 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของสุกรจะทำให้สุกรเจริญเติบโตตามปกติ

ผลกล้วย
ผลกล้วย ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีเหลือง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.natres.psu.ac.th
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment