ต้นคูน นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นผักสด

ต้นคูน

ชื่ออื่นๆ : คูน หรือ ทูน (ภาคกลาง, ภาคอีสาน)  ตูน หรือ ตุน (ภาคเหนือ) ออดิบ อ้อดิบ เอาะดิบ หรือ  ออกดิบ (ภาคใต้)  กระดาดขาว (กาญจนบุรี) กะเอาะขาว (ชุมพร) บอน (ประจวบคีรีขันธ์)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Colocasia gigantean Hook.f

ชื่อวงศ์ : ARACEAE

ลักษณะของต้นคูน

เป็นพืชล้มลุก มีหัวใต้ดิน อายุหลายปี ก้านใบแทงออกจากหัว ก้านสีเขียว เปลือกมีผงแป้งสีขาวเคลือบผิว มองเห็นเป็นก้านสีขาวนวล เนื้อก้านใบ คือส่วนหลักที่นำไปเป็นอาหาร เนื้อกรอบ อวบน้ำ มีรูอากาศแทรกมากมาย ใบคูนเป็นรูปหอกแบนรี ปลายใบมน ฐานใบเว้า สีเขียวอ่อน ขนาดใบใหญ่ กว้าง 16-17 นิ้ว ยาว 15-19

คูน หรือ ตุน หรือ ทูน มี 2 ชนิด คือ คูนขาว และ คูนดำ ส่วนใหญ่นำคูนขาวมาบริโภค ส่วนคูนดำนำไปต้มเลี้ยงหมู

ต้นคูน
ต้นคูน ก้านสีเขียว เปลือกมีผงแป้งสีขาวเคลือบผิว

การขยายพันธุ์ของต้นคูน

แยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ต้นคูนต้องการ

ประโยชน์ของต้นคูน

นิยมนำมาประกอบเป็นอาหาร หรือใช้เป็นผักสด คือ ก้านใบ และใบอ่อน อาหารที่ขึ้นชื่อ ได้แก่ แกงตูนปลาดุก แกงส้มคูนกุ้งฝอยปลาน้อย  ใบคูน ใช้ใบอ่อนแกงใส่หนังควายแห้ง เนื้อแห้ง หมูสามชั้น ก้านคูนเป็นผักกินกับส้มตำปูปลาร้า หรือตำบักหุ่ง ส้มตำปูโรยถั่ว ตำถั่วฝักยาว ตำแตงกวา

สรรพคุณทางยาของต้นคูน

พืชผักชนิดนี้เป็นยาเย็น มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์มาก โดยเฉพาะมีแคลเซียม และวิตามินซี ช่วยในการบำรุงกระดูก และฟัน แก้ไข้หวัด ต้านหวัดหัวลม

คุณค่าทางโภชนาการของต้นคูน

คูน ตุน ทูน มีคุณค่าทางอาหารสูง ก้านและใบอ่อน 100 กรัม ให้พลังงานแค่ 9 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย

  • เส้นใยอาหาร 0.8 กรัม
  • แคลเซียม 115 มิลลิกรัม
  • ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม
  • เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม
  • วิตามินเอ 213 iu
  • วิตามินบีหนึ่ง 0.03 มิลลิกรัม
  • วิตามินบีสอง 0.01 มิลลิกรัม
  • ไนอะซิน หรือวิตามินบีสาม 0.04 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 6.0 มิลลิกรัม

การแปรรูปของต้นคูน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11659&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment