ค้างคาวดำ ไม้ล้มลุก ดอกมีลักษณะคล้ายค้างคาวบิน

ค้างคาวดำ

ชื่ออื่นๆ : เนระพูสีไทย (ภาคกลาง) ม้าถอนหลัก, มังกรดำ (เชียงใหม่) ดีปลาช่อน, ดีงูหว้า (เหนือ) ค้าวคาวดำ (กลาง) คลุ้มเลีย, ว่านหัวฟ้า (จันทบุรี) ว่านค้างคาว

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bat Flower

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tacca chantrieri Andre

ชื่อวงศ์ : TACCACEAE

ลักษณะของค้างคาวดำ

ต้น  เป็นไม้ล้มลุก มีหัวหรือเหง้าอยู่ใต้ดิน ความสูงวัดจากพื้นถึงปลายใบ 50-60 ซม.

ใบ เป็นไม้ใบเดี่ยว มีก้านยาวจากหัวถึงโคน 20-30 ซม.ก้านและใบสีเขียว ปลายใบแหลม ใบกว้าง 8-15 ซม.ยาว 30-50 ซม. พื้นใบมองแล้วเป็นยับๆ ไปตามเส้นแขนงใบ ซึ่งมี 12-18 คู่

ดอก ออกเป็นช่อ ช่อละ 4-6 ดอก มีใบประดับคล้ายกับกลีบเลี้ยง 2 คู่ กว้าง 4-8 ซม. ยาวถึง 10 ซม. แต่ละดอกมี 6 กลีบ สีจะออกม่วงดำ นอกจากนี้ยังมีใบประดับเป็นเส้นกลมอีก 5-20 เส้น คล้ายหนวดปลาดุก

ผล รูปทรงคล้ายกระสวย รูปสามเหลี่ยม มีกลีบดอกติดแน่น แก่แล้วผลจะไม่แตก

ต้นว่านค้างคาว
ต้นค้างคาวดำ มีเหง้าใต้ดิน ใบรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของค้างคาวดำ

การเพาะเมล็ดหรือแยกหน่อ

ธาตุอาหารหลักที่ค้างคาวดำต้องการ

ประโยชน์ของค้างคาวดำ

ค้างคาวดำเป็นผักกินสด โดยส่วนใหญ่จะกินส่วนที่เป็นดอกและใบอ่อน เป็นผักกินแกล้มลาบหรือกินกับน้ำพริก แจ่ว เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของค้างคาวดำ

  • เหง้า ต้มหรือดองสุรา แก้โรคความดันต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ สตรีมีครรภ์
  • ใช้ทั้งต้นนำมาต้มอาบแก้เม็ดผื่นคันตามร่างกาย
ดอกว่านค้างคาว
ดอกค้างคาวดำ ลักษณะคล้ายค้างคาวบิน มีสีม่วงแกมเขียวถึงสีม่วงดำ

คุณค่าทางโภชนาการของค้างคาวดำ

การแปรรูปของค้างคาวดำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10682&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment