งวงช้างทะเล ในไทยพบตามเกาะฝั่งทะเลอันดามันที่พังงา กระบี่ ตามหาดทรายที่ไม่ถูกรบกวน

งวงช้างทะเล

ชื่ออื่นๆ : งวงช้างทะเล

ต้นกำเนิด : เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน

ชื่อสามัญ : Octopus bush, Tree heliotrope, Velvet soldier bush

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Heliotropium foertherianum Diane & Hilger

ชื่อวงศ์ : Heliotropiaceae

ลักษณะของงวงช้างทะเล

ต้น  ไม้พุ่มหรือไม้ต้น สูงได้ถึง 10 ม. ลำต้นหนา

ใบ มีขนสั้นนุ่มตามแผ่นใบทั้งสองด้าน ช่อดอก และกลีบเลี้ยง ใบเรียงเวียนชิดกันที่ปลายกิ่ง รูปไข่หรือรูปใบหอกกลับ ยาว 8–20 ซม. ปลายเป็นติ่งหรือมน โคนสอบเรียวจรดก้านใบเป็นครีบคล้ายปีก ยาวได้ถึง 2.5 ซม.

ต้นงวงช้างทะเล
ต้นงวงช้างทะเล ลำต้นหนา มีขนสั้นนุ่มตามแผ่นใบทั้งสองด้าน

ดอก  ช่อดอกคล้ายช่อเชิงหลั่นออกที่ปลายกิ่ง ช่อตอนปลายม้วน ดอกไร้ก้าน กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม ยาว 1.5–2 มม. ดอกสีขาว หลอดกลีบดอกยาว 2.5–3 ซม. มี 5 กลีบ รูปไข่ ยาวประมาณ 2 มม. เกสรเพศผู้ 5 อัน ติดที่ปากหลอดกลีบดอก ก้านชูอับเรณูสั้น รังไข่เกลี้ยง ก้านเกสรเพศเมียไม่ชัดเจน ยอดเกสรแยก 2 แฉก ฐานเป็นวงแหวน

ผล  ผลสด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มม. แตกเป็น 2 ส่วน ปลายทั้ง 2 ด้าน มีเปลือกหุ้มเป็นคอร์ก แต่ละซีกมี 2 ไพรีน กว้างประมาณ 1 มม. ยาวประมาณ 2 มม.

ดอกงวงช้างทะเล
ดอกงวงช้างทะเล หลอดดอกสีขาว ออกที่ปลายกิ่ง ช่อตอนปลายม้วน

การขยายพันธุ์ของงวงช้างทะเล

แถบจังหวัดพังงาและกระบี่ ขึ้นตามหาดทรายริมทะเลที่ไม่ถูกรบกวน มีจำนวนประชากรน้อย

ธาตุอาหารหลักที่งวงช้างทะเลต้องการ

ประโยชน์ของงวงช้างทะเล

  • เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องมือ และใช้เผาถ่าน
  • ใบมีสาร rosmarinic acid ที่มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส แบคทีเรียและต้านอนุมูลอิสระ

สรรพคุณทางยาของงวงช้างทะเล

คุณค่าทางโภชนาการของงวงช้างทะเล

การแปรรูปของงวงช้างทะเล

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10614&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment