งา มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง กรดนี้ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล

งา

ชื่ออื่นๆ : งาขาว, งาดำ (ภาคกลาง) นีโซ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ไอยู่มั้ว (จีน)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Black Sesame Seeds, White Sesame Seeds

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesamum indicum L.

ชื่อวงศ์ : PEDALIACEAE

ลักษณะของงา

ต้น ไม้ล้มลุก สูงประมาณ 30-100 ซม. ลำต้นเป็นเหลี่ยม มีร่องตามยาวของลำต้น มีขนปกคลุม

ใบ  เป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามหรือสลับ มีขนตลอดทั้งใบ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ หรือรูปใบหอก กว้างประมาณ 2-5 ซม. ยาวประมาณ 6-10 ซม.

งา
งา ใบรูปหอก กลีบดอกสีขาวหรือชมพู

ดอก เป็นดอกเดี่ยว เป็นหลอด ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว สีชมพูหรือสีม่วงอ่อน ออกโดยรอบลำต้นตอนบน

ผลงา
ผลงา ผลมีสี่พู ออกรอบลำต้น

ผล  เป็นผลแห้ง มี 4 พู เมล็ดแบน ขนาดเล็ก มีจำนวนมาก รูปไข่ สีดำ เรียก”งาดำ” สีขาวหรือสีนวล เรียก” งาหม่น”

เม็ดงา
เม็ดงาเป็นเม็ดเล็กๆ สีดำ
งาขาว
เม็ดงาเมล็ดเล็ก สีขาว

การขยายพันธุ์ของงา

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่งาต้องการ

ประโยชน์ของงา

เมล็ดงามีน้ำมันสูงถึง 35-57% น้ำมันที่สกัดได้เป็นน้ำมันที่ดีเยี่ยมคือ มีกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวสูง กรดนี้ช่วยควบคุมระดับโคเลสเตอรอล ไม่ให้มีมากเกินไป ป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็ง ป้องกันโรคหัวใจและโรคเกี่ยวกับ หลอดเลือดบางชนิด

สรรพคุณทางยาของงา

  • ดอกงา  รักษาหูด
  • เมล็ดงา  มีรสฝาด หวาน ขม รับประทานให้เกิดกำลัง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย

วิธีและปริมาณที่ใช้รักษาหูด

  • ใช้ดอกงา นำดอกงาที่เก็บในตอนเช้า ซึ่งยังมีน้ำค้างอยู่มาถูกับหูดวันละ 3 ครั้ง ภายใน 7-10 วัน จะเห็นผล
  • ถ้าจำเป็นต้องใช้ดอกแห้ง ให้นำมาแช่น้ำนาน 30 นาที ต้มให้เดือด แล้วใช้น้ำต้มล้างบริเวณที่เป็นหูดภายใน 10 วัน หูดจะหลุดออก

รับประทานให้เกิดกำลังและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย – ใช้เมล็ดงา

คุณค่าทางโภชนาการของงา

การแปรรูปของงา

“น้ำมันงา” ( Seasame oil หรือ Teel oil หรือ Benne oil หรือ gingelly oil ) คือ การคิดค้นวิธีแปรรูป งาขาวได้รับความนิยมนำมาผลิตเป็นน้ำมัน เพราะมีกลิ่นหอม รสชาติดี เหมาะกับการปรุงอาหาร ส่วนงาดำนั้นใช้ทำยามีรสออกขมนิด ๆ แต่พบว่างาดำมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่า จึงใช้งาดำเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต ส่วนน้ำมันงาที่ได้จากการบีบงาโดยใช้ความร้อน ( cold expression) เรียกน้ำมันงาเชย สตรีไทยโบราณใช้น้ำมันงาเชยประทินผิวให้ผิวสวย เนียน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11649&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment