จวง ไม้ยืนต้น เปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว

จวง

ชื่ออื่นๆ : อบเชย (กรุงเทพ อุตรดิตถ์) ขนุนมะแว้ง เชียกใหญ่ (ตรัง) จวงดง (หนองคาย) เฉียด บริเวง (ระนอง) มหาปราบ (ตราด) มหาปราบตัวผู้ (จันทบุรี) สมุลแว้ง ฝนแสนห่า (นครศรีธรรมราช) แลงแวง (ปัตตานี) พะแว โมงหอม ระแวง (ชลบุรี)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : อบเชย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cinnamomum verum

ชื่อวงศ์ : Lauraceae

ลักษณะของจวง

ลักษณะทั่วไปเป็นไม้ยืนต้น ตัวต้นจะสูงประมาณ 4 – 10 เมตร ส่วนเปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงข้ามกัน เส้นใบหยัก 3 เส้น เวลาออกดอกจะออกที่บริเวณซอกใบ หรือปลายกิ่ง โดยออกดอกย่อยสีเหลืองอ่อนรวมกันเป็นช่อ

อบเชย (Cinnamon; Cinnamomum verum) อยู่ในวงศ์ Lauraceae สกุล Cinnamomum ซึ่งมีความหลากหลายกว่า 50 ชนิด พบในทวีปเอเชียและออสเตรเลีย เฉพาะในประเทศไทยเองมีมากกว่า 16 ชนิด อบเชยของไทยนี้มีเนื้อเปลือกหนาและมีกลิ่นอ่อน ส่วนใหญ่เก็บมาจากป่าที่มีต้นอบเชยขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ และนำไปขายตามร้านเครื่องเทศเครื่องยาโบราณ อบเชยญวนและอบเชยชวา ปลูกได้ดีในประเทศไทย หากเป็นการปลูกจากเมล็ด ใช้เวลา 3 ปี ก็จะสามารถลอกเปลือกเพื่อเป็นสินค้าได้แล้ว
อบเชยเป็นต้นไม้ขนาดกลางจัดอยู่ในวงศ์ Lauraceae มีชนิดใหญ่ๆ 5 ชนิดคือ
อบเชยศรีลังกา (Cinnamomum zeylanicum) คนไทยเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “อบเชยเทศ” มีราคาแพงที่สุด อบเชยอินโดนีเซีย หรืออบเชยชวา (Cinnamomum burmanii Blume) ได้รับความนิยมสูงสุดในปัจจุบัน อบเชยญวน (Cinnamomum loureirii Nees) มีรสหวานแต่ไม่ค่อยหอม ปลูกได้ดีมากในประเทศไทย และประเทศไทยเราส่งออกอบเชยชนิดนี้ อบเชยจีน (Cinnamomum cassia Nees ex. Blume) มีเปลือกหนาและเนื้อหยาบเป็นชนิดที่ ดร.แอนเดอร์สันใช้ศึกษาวิจัย อบเชยไทย (Cinnamomum bejolghota) หรืออบเชยต้น (C. iners Rein w. ex. Blume) พบในป่าเขาที่ยังอุดมสมบูรณ์ในประเทศ แต่ยังไม่ใช้นำมาปลูกเพื่อผลิตเปลือกอบเชย อบเชยไทยมีมากกว่า 16 สายพันธุ์ และยังไม่เคยมีการศึกษาวิจัยด้านสรรพคุณ เปลือกอบเชยไทยจะหนากว่าอบเชยชนิดอื่น

อบเชย
อบเชย เปลือกและใบมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว เส้นใบหยัก 3 เส้น

การขยายพันธุ์ของจวง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่จวงต้องการ

ประโยชน์ของจวง

ในการทำอาหารไทย มักใช้อบเชยในการทำเครื่องแกงเช่น พริกแกงกระหรี่ประเภทผัดที่ใช้ผงกระหรี่ ใช้เป็นไส้กระหรี่ปั๊ป หรือใช้ร่วมกับโป๊ยกั้กในอาหารคาวประเภทต้มเช่น พะโล้และเนื้อตุ๋น ส่วนในประเทศแถบตะวันตก มักใส่อบเชยในของหวาน เช่น ซินนามอนโรลล์ ใช้ผงอบเชยละเอียดโรยหน้ากาแฟใส่นม ใช้ผงอบเชยกับน้ำตาลโรยหน้าเพรทส์เซล และนอกจากนี้ยังมีลูกอมหมากฝรั่ง และยาสีฟันรสอบเชยอีกด้วย

สรรพคุณทางยาของจวง

อบเชยทำให้ท้องเป็นปกติดี แก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ขับลม ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ย่อยไขมัน (อาจเป็นเพราะไปช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำย่อยที่ใช้ในการย่อยไขมัน) ทำให้สดชื่น แก้อ่อนเพลีย มีสารต้านแบคทีเรีย และสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ (ผลงานวิจัยจากสหรัฐอเมริกา)

อบเชยที่ใช้ปรุงอาหารจะใช้ชนิดหลอด (ม้วนเปลือกให้เป็นหลอด) ใช้ปรุงอาหารเช่นทำพะโล้ ใช้ทำยาไทยหลายตำรับ ตำราไทยระบุว่าอบเชยมีกลิ่นหอม มีรสสุขุม มีสรรพคุณใช้บำรุงจิตใจ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ขับลม บำรุงธาตุ แก้บิด แก้ไข้ สันนิบาต ใช้ปรุงยานัตถุ์แก้ปวดหัว นอกจากการใช้เปลือกตำราไทยยังระบุว่ารากและใบมีกลิ่นหอมรสสุขุม ใช้ต้มดื่มขับลมบำรุงธาตุ แก้ท้องอืดเฟ้อ

สรรพคุณที่กล่าวถึงในบทความนี้ทั้งหมด คือส่วนที่ละลายน้ำได้และไม่ใช่น้ำมันที่กลั่นได้ (cinnamon oil) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมแต่งกลิ่น เหล้า ขนมหวาน สบู่ และยาเป็นต้น อบเชยชนิดหลอดชาวตะวันตกนิยมใช้คนกาแฟ ชา หรือโกโก้ ซึ่งสาร MHCP ก็จะละลายออกมาอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ และให้ผลในการควบคุมระดับน้ำตาลเช่นกัน แต่เราไม่สามารถทราบถึงปริมาณ MHCP ซึ่งละลายอยู่ได้ ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก หากต้องการใช้ในการรักษาเพราะควรทราบปริมาณที่ใช้อย่างชัดเจน

คุณค่าทางโภชนาการของจวง

การแปรรูปของจวง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10918&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment