จันทน์ม่วง เนื้อไม้มีกลิ่นหอม ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน

จันทร์ม่วง

ชื่ออื่นๆ : จอแกะ (มาเลย์-นราธิวาส); จันทน์ป่า (นราธิวาส); จันทน์ม่วง (นครศรีธรรมราช); ซอแกะ (มาเลย์-นราธิวาส); สังขยา (นราธิวาส)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Swamp nutmeg

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Myristica elliptica Wall. Ex Hook.f.& Thomson

ชื่อวงศ์ : MYRISTICACEAE

ลักษณะของจันทน์ม่วง

ต้น ไม้ต้น ลำต้น สูง 10-15 เมตร เป็นพุ่มทรงสูง เปลือกสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมแดง เปลือกในสีชมพู กิ่งย่อยห้อยลงมา

ใบ รูปรีถึงรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบทู่หรือสอบ ขนาด 5-7 x 12-18 เซนติเมตร ผิวใบเกี้ยงเป็นมัน ก้านใบยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร

จันทน์ม่วง
จันทน์ม่วง ไม้ต้นทรงพุ่ม เปลือกสีน้ำตาล

ดอก ช่อดอกออกสั้น ๆ ตามซอกใบ ยาว 1–2.5 ซม. มีขนแบน ก้านดอกยาวประมาณ 3 มม. กลีบรวม 3 กลีบ ดอกเพศผู้เป็นหลอดแคบ ๆ ยาว 7–9 มม. ปลายแฉกลึกประมาณหนึ่งในสาม ดอกเพศเมียรูปไข่ ยาว 6–8 มม. เกสรเพศผู้เชื่อมติดกันเป็นเส้าเกสร อับเรณูรูปเส้นด้ายติดกัน เกสรเพศเมียไร้ก้าน ยอดเกสรเพศเมียจัก 2 พู ตื้น ๆ ผลสด รูปรี ยาว 4.5–7.5 ซม. มีขนละเอียด สุกสีเหลืองอมส้ม เปลือกหนา แตกเป็น 2 ซีก ก้านเทียมยาวได้ถึง 1.2 ซม. ก้านผลยาว 0.5–1 ซม.

ผล รูปขอบขนาน เบี้ยวปลายงอ เปลือกแข็ง และหนา ขนาด 5-6 x 7-8 เซนติเมตร ก้านผลยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียวเมื่อสุกสีเหลืองนวลและแตกออกเป็นสองซีก บางผลแตกออกตั้งแต่บนต้น เปลือกในสีน้ำตาลลักษณะแข็ง เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงอมส้ม

ผลจันทน์ม่วง
ผลจันทน์ม่วง ผลสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของจันทน์ม่วง

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่จันทน์ม่วงต้องการ

ประโยชน์ของจันทน์ม่วง

เนื้อไม้มีกลิ่นหอม ใช้ก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน

สรรพคุณทางยาของจันทน์ม่วง

คุณค่าทางโภชนาการของจันทน์ม่วง

การแปรรูปของจันทน์ม่วง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9894&SystemType=BEDO
http://srdi.yru.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment