จำปูลิง ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้-ผลไม้หายาก

จำปูลิง

ชื่ออื่นๆ : จำปูลิ่ง, จำปูริ่ง, กำไหร, จำไหร, จำหลี (ยะลาเเละนราไทยพุทธ) มะไฟลิง (สตูลและสงขลา)

ต้นกำเนิด : ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Baccaurea kunstleri

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของจำปูลิง

ลำต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-15 เมตร เปลือกไม้ ไม่เรียบ มียาง สีน้ำตาลแกมเทา

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตัวเวียนสลับ แผ่นใบเรียบรูปรีหรือรูปไข่ ผิวใบเรียบ ทั้งสองด้าน ขอบใบเรียบ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน เส้นใบแตกแบบขนนก เส้นกลางใบเห็นชัดเจน ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม

ดอก เป็นช่อกระจะ ขนาดเล็ก ออกบริเวณกิ่งก้านขนาดใหญ่และบริเวณตอนบน สีขาวเหลือง

ผล ผลเดี่ยว เป็นช่อยาว รูปผลกลม ปลายผลมีติ่งแหลมสั้นๆ ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง เปลือกแข็ง เมื่อบีบจะแตกออกกลางพู เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม รสเปรี้ยวอมหวาน คล้ายมะไฟ  มีกลิ่นหอมเฉพาะ ผลจะทะยอยออกใน เดือน เมษายน-กรกฎาคม

ผลจำปูลิง
ผลจำปูลิง ผลสุกสีเหลือง มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม

การขยายพันธุ์ของจำปูลิง

ใช้เมล็ด/เกิดขี้นในป่าทางภาคใต้  ขยายพันธ์ด้วยเมล็ด โดยธรรมชาติ

ธาตุอาหารหลักที่จำปูลิงต้องการ

ประโยชน์ของจำปูลิง

เป็นผลไม้หายาก

  • ผลอ่อนและยอด ใช้แกงเลียงได้
  • ผลแก่ ใช้แกงส้ม
  • ผลสุก ใช้รับประทานเป็นผลไม้

สรรพคุณทางยาของจำปูลิง

สรรพคุณทางยา :
– ราก ใบ ผล มีสรรพคุณใช้รักษาโรค มีฤทธิ์ขับเสมหะ ช่วยย่อย

สรรพคุณสมุนไพร :
– ผลสุกเมื่อรับประทานมากเป็นยาระบาย
– ผลสุกมีรสเปรี้ยว ช่วยลดความอยากอาหาร ความรู้สึกหิวอาหาร

คุณค่าทางโภชนาการของจำปูลิง

การแปรรูปของจำปูลิง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11195&SystemType=BEDO
ภาพ : https://www.gotoknow.org

One Comment

Add a Comment