จำมะโฮง มะโรง สรรพคุณ ช่วยละลายเสมหะ ช่วยแก้โลหิตและลมพิการ

จำมะโฮง

ชื่ออื่นๆ : จำมะโฮง (เชียงใหม่), มะโรง มะโหรง (ปัตตานี), โหมโรง (ภาคใต้)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Bastard poom , Pinari

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sterculia Foetida L.

ชื่อวงศ์ : Sterculiaceae

ลักษณะของจำมะโฮง

ต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่ ถึงทรงกระบอก ลำต้นเปลาตรง โคนมีพูพอนต่ำๆ เปลือกเรียบสีน้ำตาลปนเทา

ใบ ใบประกอบรูปนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกันเรียงเวียนจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย5-7 ใบ รูปรีหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 3.5 – 6 ซม.ยาว 10 ซม.- 30ซม.ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม แผ่นใบหนา ใบเกลี้ยง เส้นแขนงใบข้างละ 17-21 เส้น ก้านใบประกอบยาว 13-20 ซม. ก้านใบย่อยยาว3-5 ซม.

ดอก สีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็นมาก ออกรวมเป็นช่อ แบบช่อแยก แบบช่อแยก แขนงที่ปลายกิ่ง หรือซอกใบ ปลายกิ่งช่อดอกยาว 10-30ซม.กลีบเลี้ยง5กลีบ ปลายม้วนออก ดอกบานเต็มที่ กว้าง 2-2.5 ซม. ดอกออกช่วง พ.ย-ธ.ค

ผล ผลแห้งแตกรูปไต เปลือกแข็งเหมือนไม้ สีแดงปนน้ำตาล ผิวมันและเกลี้ยงเมื่อ แก่แตกเป็นสองซีกกว้าง6-9ซม. ยาว8-10 ซม. ผลออกช่วง ม.ค-เม.ย

เมล็ด เมล็ดสีดำมันรูปขอบขนาน กว้าง .3ซม.ยาว 2.5ซม.

จำมะโฮง
จำมะโฮง ไม้ต้นขนาดใหญ่ ลำต้นเปลาตรง

การขยายพันธุ์ของจำมะโฮง

ใช้เมล็ด/การตอนกิ่ง คือ การทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ จะทำให้ได้ต้นพืชใหม่ ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์ เหมือนกับต้นแม่ทุกประการ โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติ ดังนี้

1. เลือกกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนที่สมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
2. ควั่นกิ่ง ลอกเอาเปลือกออก แล้วขูดเยื่อเจริญที่เป็นเมือกลื่น ๆ ออก
3. นำตุ้มตอน (ขุยมะพร้าวที่แช่น้ำ แล้วบีบหมาด ๆ อัดลงในถุงพลาสติก ผูกปากถุงให้แน่น) มาผ่าตามความยาวแล้วนำไปหุ้มบนรอยแผลของกิ่งตอน มัดด้วยเชือกทั้งบนและล่างรอยแผล
4. เมื่อกิ่งตอนมีรากงอกแทงผ่านวัสดุ และเริ่มแก่เป็นสีเหลือง สีน้ำตาล ปลายรากมีสีขาว และมีจำนวนมากพอจึงตัดกิ่งตอนได้
5. นำกิ่งตอนไปชำในภาชนะ กระถางหรือถุงพลาสติก เพื่อรอการปลูกต่อไป

ธาตุอาหารหลักที่จำมะโฮงงต้องการ

ประโยชน์ของจำมะโฮง

  • ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ทำกระดาน เครื่องเรือน หีบใส่ขอบ รองเท้าไม้ ไม้บาง ไม้จิ้มฟัน ไม้อัด ทำหูก เปลือกใช้ทำเชือกหยาบ ๆ เมล็ดใช้จุดไฟ ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ผลสุกใช้รับประทานเป็นอาหารนกและสัตว์เล็ก ๆ ชอบกินเป็นอาหาร ผล มีรสหวาน รับประทานได้ เมล็ด สกัดน้ำมันแล้วใช้ปรุงอาหารและใช้จุดไฟ ด้านสมุนไพร
  • ส่วนที่ใช้เป็นสมุนไพรและสรรพคุณ คือ เปลือกต้น มีรสฝาดสุขุม กล่อมเสมหะและอาจม แก้บิดปิตธาตุ แก้โลหิตและลมพิการ ใบ รับประทานเป็นยาระบาย ผล รสฝาด สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ไตพิการ แก้ท้องร่วง แก้บิด เปลือกฝัก รสฝาด เผาเป็นด่าง รับประทาน แก้โรคไตพิการ แก้ลำไส้พิการ แก้ปัสสาวะพิการ
  • ด้านการเป็นไม้ประดับ ความน่าสนใจของไม้ต้นนี้คือ เป็นต้นไม้ที่มีรูปทรงลำต้นเปลาตรง มีโครงสร้างเรือนยอดเป็นเหมือนร่ม กิ่งก้านแตกตั้งฉากลำต้นจากจุดเดียวกันเป็นฉัตร มีพุ่มใบหนาทึบ รูปใบแปลกตาและให้สีสันสวยงาม เมื่อเป็นใบอ่อนสีน้ำตาลแดง จนถึงใบแก่สีเขียว พอใกล้ร่วงกลับให้สีเหลืองสดใส มีผลแก่สีแดงส้มเด่นดี มักจะนิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาในสถานที่กว้าง ๆ เช่น วัด โรงเรียน ริมถนน เป็นไม้ป่าที่หายากมากขึ้น ๆ เพราะว่าที่ดินถูกบุกรุกเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใช้ปลูกเป็นหมวดหมู่กลุ่มใหญ่ ๆ ให้ความแปลกตาและให้ร่มเงาได้ดีมาก
ดอกจำมะโฮง
ดอกจำมะโฮง ดอกสีแดงหรือสีแสด ปลายม้วนออก

สรรพคุณทางยาของจำมะโฮง

1. เปลือกต้นมีรสฝาดสุขุม ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยากล่อมเสมหะและอาจม (เปลือกต้น)
2. ช่วยแก้โลหิตและลมพิการ (เปลือกต้น)
3. ช่วยขับเหงื่อ (เปลือกต้น)
4. เปลือกหุ้มเมล็ดมีสรรพคุณช่วยแก้กระหายน้ำ (เปลือกหุ้มเมล็ด)
5. ช่วยละลายเสมหะ (เปลือก)
6. ผลมีรสฝาด สรรพคุณเป็นยาแก้ท้องร่วง ช่วยสมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (ผล)และน้ำจากผลมีสรรพคุณเป็นยาสมานท้อง (น้ำจากเปลือกผล)
7. เปลือกต้นมีสรรพคุณเป็นยาแก้บิดปิดธาตุ (เปลือกต้น)
8. ช่วยแก้ลำไส้พิการ (เปลือกผล)
9. เปลือกต้นและเมล็ดมีสรรพคุณเป็นยาระบายอ่อนๆ (เปลือกต้น,เมล็ด)ส่วนใบก็มีสรรพคุณเป็นยาระบายเช่นกั
10. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินช่วยแก้อาการบวมน้ำ (เปลือกต้น)
11. ช่วยขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
12. ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (เปลือกผล)
13. เปลือกต้นมีสรรพคุณช่วยรักษาโรคไส้เลื่อนได้ดี โดยให้ใช้เปลือกต้นสำโรง (สดหรือแห้งก็ได้) นำมาฝนกับฝาละมีหรือกระเบื้องดินเผา และผสมกับน้ำปูนใส (ปูนขาวหรือปูนแดงที่ใช้กินกับหมาดพลู) โดยให้ฝนจนเป็นน้ำข้น แล้วเอาน้ำที่ได้มาทาลูกอัณฑะบริเวณที่บวมหรือเริ่มเป็นไส้เลื่อนได้ไม่นาน และให้ฝนทาวันละหลายๆ ครั้ง จะช่วยทำให้ถุงอัณฑะหดตัว โดยให้ทาติดต่อกันประมาณ 30 วัน พบว่าได้ผลดีอย่างชะงัดนักแล เพราะเคยใช้รักษาหายมามากหลายรายแล้ว (ตำรายาสมุนไพร หลวงปู่ศุข วัดมะขามเฒ่า) (เปลือกต้น)
14. ผลและเปลือกผลมีรสฝาด ใช้ปรุงเป็นยากินแก้โรคไตพิการ (ผล,เปลือกผล)
15. น้ำจากเปลือกผล มีสรรพคุณเป็นยารักษาโรคไต (น้ำจากเปลือกผล)
16. ช่วยรักษาบาดแผล (เมล็ด)
17. เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำกินแก้โรคปวดข้อ (เปลือกต้น) ประโยชน์ของสำโรง

ผลจำมะโฮง
ผลจำมะโฮง ผลเปลือกแข็ง สีแดงปนน้ำตาล
ผิวมัน

คุณค่าทางโภชนาการของจำมะโฮง

การแปรรูปของจำมะโฮง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9381&SystemType=BEDO
https://region4.prd.go.th
https://www.flickr.com

Add a Comment