ชะคราม ยอดอ่อนและใบใช้ทำอาหาร ราก ใบ มีสรรพคุณทางยา

ชะคราม

ชื่ออื่นๆ : ชักคราม, ส่าคราม, ชั้วคราม, ล้าคราม, ล่าคราม

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Seablite

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suaeda maritime (L.) Dumort.

ชื่อวงศ์ : CHENOPODIACEAE

ลักษณะของชะคราม

ต้น เป็นพืชล้มลุก อายุหลายปี มีลำต้นสูงประมาณไม่เกิน 150 เซ็นติเมตร ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ลำต้นแก่มีสีน้ำตาลอมแดง ผิวของลำต้นเป็นตุ่มๆ เนื้อไม้อ่อน รากของชะคราม มีรากแก้วแทงลึกลงดิน และรากแขนง

ใบ  เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบมีลักษณะเป็นทรงกระบอกเกือบกลม เรียวยาว ปลายใบแหลม ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ต่อมาที่เจริญเต็มที่จะมีสีเทาเงินอมเขียว ใบชะครามแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือ สีคราม

ดอก  ออกเป็นช่อ ออกตามปลายกิ่ง กลีบดอกชะครามอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง ส่วนกลีบดอกชะครามแก่มีสีแดงเรื่อ

ผล ทรงกลม ขนาดเล็ก เปลือกผลอ่อนมีสีเขียวอมน้ำตาล ส่วนเปลือกผลแก่มีสีน้ำตาล ด้านในผลชะครามมีเมล็ด 1 เมล็ด

ต้นชะคราม
ต้นชะคราม ลำต้นอ่อนมีสีเขียว ใบเรียวยาวปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของชะคราม

การปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ชะครามต้องการ

ประโยชน์ของชะคราม

  • นำยอดไปแกงกะทิ รับประทานได้เช่น แกงใส่ปู หอยแครง แกงส้ม ยำ กินกับน้ำพริกหรือใส่ในไข่เจียว ใช้เป็นยาแก้ท้องผูก
  • ใบชะครามก่อนนำมารับประทานต้องทำให้สุกก่อน โดยรูดเฉพาะใบนำไปต้มแล้วบีบน้ำออกจนหมดรสเค็ม
  • ชาวมอญใช้ใบชะครามทำอาหารได้หลายอย่าง ใบใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง เช่น ยำชะครามปูทะเล แกงเลียง แกงคั่วกับปูทะเลหรือกุ้ง ห่อหมกชะครามโดยใช้ชะครามแทนใบยอ แกงส้ม ลวกกะทิกินกับน้ำพริกหรือปลาร้าหลน
  • ใช้ทำขนมแบบเดียวกับขนมกล้วยโดยใช้ใบชะครามแทนกล้วย
ดอกชะคราม
ดอกชะคราม ดอกอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง

สรรพคุณทางยาของชะคราม

  • รากใช้เป็นยาบำรุงกระดูก แก้พิษฝี
  • ใบ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาโรคหนองใน รักษาโรคคอพอก กระตุ้นระบบประสาท บำรุงสายตา แก้อาการตามัว รักษากลากเกลื้อน แก้อาการผื่นคัน ลดอาการบวมของแผล ลดอาการปวดจากแมลงกัดต่อย รักษารากผม แก้ผมร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของชะคราม

คุณค่าทางโภชนาการของใบชะครามสด ขนาด 100 กรัม พบว่ามี สารอาหารสำคัญ ประกอบด้วย

  • โปรตีน 1.81%
  • ไขมัน 0.15%
  • กากใยอาหาร 2.40%
  • คาร์โบไฮเดรต 2.97%
  • แคลเซียม 36.68 มิลลิกรัม
  • โซเดียม 2,577 มิลลิกรัม
  • วิตามินซี 0.14 มิลลิกรัม
  • เบต้าแคโรทีน 1,683 ไมโครกรัม และ 1,265 ไมโครกรัม

การแปรรูปของชะคราม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9493&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment