ชะมวงป่า ไม้ลำต้นสูง เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน

ชะมวงป่า

ชื่ออื่นๆ : ชะมวงกา (นราธิวาส) กานิฮูแต (มลายู-นราธิวาส) หมากโมง (อุดรธานี) กะมวง (ใต้) ส้มมวง, ส้มโมง (นครศรีธรรมราช)

ต้นกำเนิด : พบในป่าดิบชื้นที่ลุ่มต่ำ และในป่าพรุทางภาคใต้

ชื่อสามัญ : Cambogia crassifolia Blanco

ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Garcinia bancana (Miq.) 

ชื่อวงศ์ : GUTTIFERAE

ลักษณะของชะมวงป่า

ต้น เป็นไม้ต้น ลำต้น สูง 15-20 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูง เปลือกเรียบ สีน้ำตาลเข้มแกมดำเปลือกชั้นในสีชมพูอมม่วง ยางสีเหลืองขุ่น

ใบ รูปไข่กลับแกมรูปขนาน ขนาด 5-12 x 15-27 เซนติเมตร ผิวใบเกลี้ยง ปลายใบมนกว้างเป็นติ่ง สอบแคบจากกลางใบถึงโคนใบ และเป็นกลีบเล็กลงมาถึงปลายก้านใบ ก้านใบยาว 1.5-3.0 เซนติเมตร

ดอก ออกตามกิ่งเป็นกระจุก กระจุก 5-25 ดอกสีขาวนวล เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 มิลลิเมตร

ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง น้ำ มียางสีเหลือง เมล็ดแบนรีสีน้ำตาล ช่วงการออกดอกและติดผล ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนมิถุนายน

ต้นชะมวงป่า
ต้นชะมวงป่า เรือนยอดเป็นพุ่ม ผิวใบเกลี้ยง
ผลชะมวงป่า
ผลชะมวงป่า ผลกลม ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของชะมวงป่า

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ชะมวงป่าต้องการ

ประโยชน์ของชะมวงป่า

  • ใบอ่อนและผลอ่อน มีรสเปรี้ยวรับประทานได้
  • เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน
  • เปลือกต้น และยาง มีสีเหลือง ใช้ย้อมผ้า

สรรพคุณทางยาของชะมวงป่า

  • แก่น ฝนหรือแช่น้ำดื่ม แก้อาการเหน็บชา

  • ใบหรือผล รสเปรี้ยว เป็นยาระบาย แก้ไข้ กระหายน้ำ กัดฟอกเสมหะ แก้ธาตุพิการ 

  • ราก มีรสเปรี้ยว แก้ไข้ตัวร้อน แก้บิด แก้เสมหะ 

  • ใบ มีรสเปรี้ยว ปรุงเป็นยากัดฟอกเสมหะ และโลหิต แก้ไอ ผสมกับยาชนิดอื่นๆปรุงเป็นยาขับเลือดเสีย 

  • ใบและดอก เป็นยาระบายท้อง แก้ไข้ กัดฟอกเสมหะ รักษาธาตุพิการ 

  • ผล หั่นเป็นแว่นตากแห้ง ใช้กินเป็นยาแก้บิด

คุณค่าทางโภชนาการของชะมวงป่า

การแปรรูปของชะมวงป่า

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th
http://srdi.yru.ac.th
https://www.youtube.com
https://www.flickr.com

Add a Comment