ชะอม ใบอ่อน ยอดอ่อน ใช้เป็นอาหาร

ชะอม

ชื่ออื่นๆ : ผักละหรือผักหละ (ภาคเหนือ) อม (ภาคใต้) ผักขา (ภาคอีสาน อุดรธานี) พูซูเด๊าะ (แม่ฮ่องสอน) โพซุยโดะ (กะเหรี่ยง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Cha-om, Acacia, Climbing Wattle

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acacia pennata (L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) I.C. Nielsen

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-MIMOSOISEAE

ลักษณะของชะอม

ต้น ไม้พุ่มขนาดย่อม ลำต้นและกิ่งก้านมีหนามแหลม
ใบ ใบประกอบขนาดเล็ก มีก้านใบแยกเป็นใบอยู่ 2 ทาง ลักษณะคล้ายใบกระถินหรือ ใบส้มป่อย ใบอ่อนมีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูก
สะตอ ใบเรียงสลับกัน ใบย่อยออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีมีประมาณ 13-28 คู่ ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
ใบ ดอกมีขนาดเล็กออกที่ซอกใบ ดอกมีสีขาวหรือขาวนวล จะเห็นเกสรตัวผู้ได้ชัด เป็นเส้นฝอยๆ
ผล เป็นฝักมีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน

ต้นชะอม
ลำต้นและกิ่งมีหนามแหลม

การขยายพันธุ์ของชะอม

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ปลูกโดย การปักชำ เพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง หรือ การโน้มกิ่งลงดิน โดยไม่ได้ต่อตา หรือ ชำกิ่ง ส่วนมากใช้การเพาะเมล็ด เนื่องจากได้ต้นที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพอากาศและ ยังมีหนามมากกว่าการปลูกด้วยวิธีปลูกแบบอื่น หากจะปักชำ หรือ ตอนกิ่ง ต้องเลือกกิ่งที่มีลักษณะไม่อ่อนไม่แก่เกินไป โดยดูลักษณะจากสี กิ่งจะมีสีขาวจนถึงขาวอมเขียว หรือกิ่งที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี

รูปแบบการเพาะนำเมล็ดใส่ถุงพลาสติก รดน้ำวันละครั้ง เมื่อเมล็ดงอกทำการย้ายลงดิน ปลูกห่างกันประมาณ 1 เมตร บำรุงต้นด้วย ปุ๋ยสดหรือมูลสัตว์ การเก็บยอดควรเหลือยอดไว้ 3-4 ยอด เพื่อให้ต้นได้โต ควรปลูกในฤดูร้อนช่วยรดน้ำเจริญดีกว่าปลูกในฤดูฝนหากปลูกในฤดูฝนชะอม มีโอากาศเมล็ดเน่าได้มาก ชะอมไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวนหากพบโรคป้องกันโดยใช้ ปูนขาวโรยรอบโคนต้นหรือจุ่มท่อนพันธุ์ในน้ำปูนขาวก่อนปลูก ส่วนแมลงมีหนอนกินยอดชะอม ใช้ยาฆ่าแมลงฉีดทุก ๆ 8 วัน ควรเก็บยอดชะอมหลังฉีดยาแล้วไม่น้อยกว่า 7 วันสามารถเก็บเกี่ยวจากต้นที่ปลูกกิ่งตอนได้ประมาณ 10 -15 วัน ตัดยอดขายได้ ทุก ๆ 2 วัน ควรบำรุงและดูแลต้นอย่างสม่ำเสมอ

ธาตุอาหารหลักที่ชะอมต้องการ

ประโยชน์ของชะอม

ใบอ่อน ยอดอ่อน ลวก หรือ นึ่ง หรือ ทอด ใช้เป็นอาหาร เปลือก เป็นยาขับพยาธิ ยาขับลม ใช้แทนผงชูรสรากแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้ แก้ปวดเสียวในท้อง ทำให้น้ำนมแห้ง แก้ลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง

ยอดชะอม
ใบอ่อนมีรสจืด มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกสะตอ

สรรพคุณทางยาของชะอม

ราก – ช่วยแก้อาการปวดเสียวในท้อง รวมทั้งช่วยขับลมในลำไส้ และแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ให้รสร้อนเฝื่อน

คุณค่าทางโภชนาการของชะอม

การแปรรูปของชะอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11118&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment