ชะเอม ชะเอมเทศ เป็นยาสมุนไพร หรือใช้แต่งรสหวานในขนมและลูกอม

ชะเอม

        ชื่ออื่น : ชะเอมจีน (ทั่วไป), กำเช้า (จีน)

ต้นกำเนิด : ประเทศแถบกลางและตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย

ชื่อสามัญ : Licorice Root , Sweet Roo

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycyrrhiza glabra

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE

ลักษณะของชะเอม

ต้น เป็นไม้พุ่มที่มีอายุนาน มีลำต้นสูงประมาณ 12 เมตร

ใบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 917 ใบ มีสีเขียวอมเหลือง ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก

ดอก  ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นสีม่วงอ่อน ๆ ส่วนก้านดอกสั้นมาก

ผล ผลชะเอมเทศ หรือ ฝักชะเอมเทศ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ผิวภายนอกมีลักษณะเรียบ

ชะเอม
ชะเอม ต้นเป็นพุ่ม ใบประกอบแบบขนนก
ดอกชะเอม
ดอกชะเอม ดอกสีม่วงอ่อน ก้านดอกสั้น

การขยายพันธุ์ของชะเอม

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ชะเอมต้องการ

ประโยชน์ของชะเอม

รากชะเอมจึงถูกนำไปแต่งรสอาหาร ปรุงยาสมุนไพร หรือใช้แต่งรสหวานในขนมและลูกอม

สรรพคุณทางยาของชะเอม

  • เนื้อในราก และเหง้า รสหวานขมชุ่ม ทำให้ชุ่มคอ แก้คอแห้ง แก้ไอ แก้น้ำลายเหนียว ขับเสมหะ แต่งกลิ่น แต่งรสหวาน ใช้ผสมในยาบรรเทาอาการไอและขับเสมหะ ยาอม ยาจิบ แก้ไอต่างๆ หรือผสมในยาที่รับประทานยาก มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ ขับลม แก้พิษ แก้คัน บำรุงปอด แก้เบื่ออาหาร แก้ปวดท้อง แก้อ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น แก้ไข้ สงบประสาท บำรุงกล้ามเนื้อให้เจริญ ขับเลือดเน่า แก้กำเดา รากสดรักษาอาการเจ็บคอ เป็นแผลเรื้อรัง ระบบการย่อยอาหารไม่ดี หรืออาหารเป็นพิษ
  • เปลือกราก รสหวานร้อน เป็นยาระบายท้องเด็กอ่อน (เปลือกหุ้มราก ทำให้ระคายคอ คลื่นเหียน)
  • ต้นหรือแก่นเอามาต้มดื่มแก้โรคในคอ แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ แก้น้ำลายเหนียว แก้ลม บำรุงธาตุ บำรุงกำลังและกล้ามเนื้อ
  • ราก เอามาต้มดื่มเป็นยาระบายได้ดี ใบ เอามาต้มดื่มเป็นยาขับระดูในสตรี
  • ดอกใช้รักษาอาการคัน และรักษาพิษฝีดาษ

คุณค่าทางโภชนาการของชะเอม

การแปรรูปของชะเอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9200&SystemType=BEDO
http://www.ananhosp.go.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment