ชาหอม ใบใช้ชงแทนใบชาได้ ต้มดื่มเป็นยาบำรุง

ชาหอม

ชื่ออื่นๆ : ชาหอม

ต้นกำเนิด : ประเทศไทยพบทางภาคเหนือที่ดอยเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และดอยหัวหมด จังหวัดตาก ขึ้นตามที่โล่งบนเขาหินปูน ความสูง 1000–2000 เมตร

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Osyris lanceolata Hochst. & Steud.

ชื่อวงศ์ : SANTALACEAE

ลักษณะของชาหอม

ต้น  ไม้พุ่ม สูง 1–2 ม. แยกเพศต่างต้น กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยมหรือมีครีบ

ใบ  ใบเรียงเวียน รูปรีถึงแกมรูปขอบขนาน ยาว 1–4 ซม. ปลายมีติ่งหนามสั้น ๆ แผ่นใบบางครั้งมีนวล

ดอก  ช่อดอกออกตามซอกใบ ดอกเพศผู้ออกเป็นช่อกระจุกสั้น ๆ แยกแขนง มี 8–10 ดอก มักแยกเป็นกลุ่มละ 3 ดอก ก้านช่อเป็นเหลี่ยม ยาวประมาณ 1 ซม. ใบประดับรูปใบหอก ยาวประมาณ 1 มม. ดอกสีเขียว กลีบรวม 3 กลีบ รูปไข่กว้าง ยาว 1–2 มม. มีเส้นกลางกลีบ เกสรเพศผู้ 3 อัน ติดที่โคนกลีบ ก้านชูอับเรณูสั้นมาก เป็นหมันในดอกเพศเมีย ดอกเพศเมียออกเป็นช่อเดี่ยว ๆ มีดอกเดียว ก้านช่อสั้นกว่าช่อเพศผู้เล็กน้อย ก้านดอกยาว 3–4 มม. ใบประดับมี 3 อัน ยาวประมาณกึ่งหนึ่งของกลีบรวม บิดไปมา กลีบรวมยาวเท่า ๆ กับของดอกเพศผู้ ปลายมีติ่งด้านใน ก้านเกสรเพศเมียสั้นมาก ยอดเกสรมี 3 แฉก มีต่อมน้ำต้อย รังไข่ใต้วงกลีบ

ผล  ผลผนังชั้นในแข็ง รูปรี ยาว 5–6 มม. สุกสีแดงอมส้ม ออกดอกเดือน ม.ค.-มี.ค.

ต้นชาหอม
ต้นชาหอม ไม้พุ่ม ใบเรียงเวียน รูปรี

การขยายพันธุ์ของชาหอม

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ชาหอมต้องการ

ประโยชน์ของชาหอม

ใบใช้ชงแทนใบชาได้

สรรพคุณทางยาของชาหอม

  • ราก ต้มดื่มแก้ปวดเมื่อย เป็นยาบำรุง แก้ท้องเสีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ไอ แก้ริดสีดวง แก้ปัสสาวะอักเสบ
  • รากและเปลือก ตากแห้งต้มดื่มแก้ท้องอืด ลำต้น ต้มดื่มแก้ไอ
  • เปลือกต้น ต้มดื่มเป็นยาเจริญอาหาร แก้ปวดเมื่อย
  • ใบ ต้มดื่มเป็นยาบำรุง
ผลชาหอม
ผลชาหอม ผลสุกสีแดงอมส้ม

คุณค่าทางโภชนาการของชาหอม

การแปรรูปของชาหอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10300&SystemType=BEDO
http://www.qsbg.org
https://www.flickr.com

Add a Comment