ชำมะเลียง ผลสุกมีรสหวานฝาด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้

ชำมะเลียง

ชื่ออื่นๆ : โคมเรียง (ตราด) พูเวียง (นครราชสีมา) มะเถ้า ผักเต้า (ภาคเหนือ) หวดข้าใหญ่, ภูเวียง (ภาคอีสาน) ชำมะเลียง, ชำมะเลียงบ้าน, พุมเรียง, พุมเรียงสวน (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด : ประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ :  Luna nut, Chammaliang

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Lepisanthes fruticosa (Roxb.) Leenh.

ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE

ลักษณะของชำมะเลียง

ต้น  ต้นสูงได้ถึง 2-10 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดแคบทรงกระบอกหรือสามเหลี่ยมคว่ำ แตกกิ่งก้านแนบลำต้น เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา

ต้นชำมะเลียง
ต้นชำมะเลียง เปลือกเรียบสีน้ำตาลอมเทา

ใบ  เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงเวียนสลับ ใบย่อยรูปไข่กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 7-21 เซนติเมตร ปลายใบมนถึงเรียวแหลม

ใบชำมะเลียง
ใบชำมะเลียง ใบรูปไข่ ปลายใบมนถึงเรียวแหลม

ดอก  สีแดงหรือชมพูปนม่วง ออกเป็นแบบช่อกระจุกเดี่ยวหรือช่อแยกแขนงที่ซอกใบตามกิ่งหรือลำต้น กลีบเเลี้ยง  4-5 กลีบ สีแดงปนม่วงเข้ม กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มี่กว้าง 5-8 มิลลิเมตร  ออกดอกช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม

ดอกชำมะเลียง
ดอกชำมะเลียง สีแดงหรือชมพูปนม่วง

ผล  ผลสดแบบมีเนื้อ ทรงไข่หรือกลม ขนาด 1.5-2 เซนติเมตร ผลอ่อนสีขาว ผลแก่สีแดงอมดำ เมล็ดรูปไข่สีดำเป็นมัน มี 1-2 เมล็ดต่อผล

ผลชำมะเลียง
ผลชำมะเลียง ผลอ่อนสีขาว ผลแก่สีแดงอมดำ

การขยายพันธุ์ของชำมะเลียง

การเพาะเมล็ด

พบตามป่าละเมาะและป่าเบญจพรรณทั่วไป

ธาตุอาหารหลักที่ชำมะเลียงต้องการ

ประโยชน์ของชำมะเลียง

  • ใบอ่อน ยอดอ่อนสามารถนำมาใช้ทำแกงใส่ผักรวม (ชะอม สลิด แส้ว หนัง ฮาก) ทำแกงเลียง ใส่ปลาย่าง หรือใช้เป็นผักสดจิ้มน้ำพริก หรือนำมาลวกต้มจิ้มกินกับน้ำพริกมะม่วง น้ำพริกปลาร้าหรือยำ
  • ผลสุกมีรสหวานฝาด ใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ ผลถ้ารับประทานมากเกินไปจะทำให้ท้องผูกได้
  • ใช้ปลูกเป็นไม้ประดับได้ เพราะใบมีสีเขียวเข้มตลอดปี เมื่อผลิใบใหม่จะเป็นสีเขียวอ่อนแกมเหลืองสดใส ส่วนผลก็มีสีสันสวยงาม โดยนิยมปลูกแซมไว้ตามสวนผลไม้ทั่วไป หรือใช้ปลูกเพื่อการจัดสวนตามบ้าน ตามสถานที่ราชการ หรือใช้ปลูกเป็นพืชอาหารสัตว์ป่าในป่าอนุรักษ์ก็ได้
  • สีม่วงจากผล ใช้ผสมอาหาร

สรรพคุณทางยาของชำมะเลียง

ราก แก้ร้อนใน แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต และเลือดกำเดาไหล

คุณค่าทางโภชนาการของชำมะเลียง

การแปรรูปของชำมะเลียง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11785&SystemType=BEDO
www.forest.go.th
ภาพประกอบ : www.flickr.com

Add a Comment