ชิงชัน นิยมนำต้นมาทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องเรือน หรือเครื่องใช้สอยต่างๆ

ชิงชัน

ชื่ออื่นๆ : ประดู่ชิงชัน (อีสาน)  เกิดแดง (เหนือ)

ต้นกำเนิด : พบในป่าเบญพรรณทั่วไปและป่าดิบแล้ง ในพื้นที่ความสูงใกล้กับระดับน้ำทะเล จนถึง 500 เมตร

ชื่อสามัญ : amalin, Rosewood, Black-wood

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dalbergia oliveri Gamble

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE

ลักษณะของชิงชัน

ต้น เป็นไม้ขนาดใหญ่ถึงขนาดกลาง ผลัดใบ โดยมีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร เปลือกของต้นนั้นมีสีน้ำตาลอมเทา เปลือกหนา ซึ่งมีรากแก้วที่ยาวมาก และมีปมรากถั่ว

ใบ ใบ มีลักษณะยาวรี รูปขอบขนานแกมรูปหอก ฐานใบมนกลม ปลายใบมนทู่และหยักเว้าเล็กน้อย ทางด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ ดอก สีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง

ดอก ดอกสีขาวอมม่วง ออกเป็นช่อดอกเชิง ประกอบตามปลายกิ่ง ดอกจะเกิดพร้อมกับการผลิตใบใหม่ เกสรผู้แยกเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 5 อัน ออกดอกทุกปีในประมาณเดือนมีนาคม – พฤษภาคม

เมล็ดโดยส่วนมากมักจะมีเพียงเมล็ดเดียว หรือ 2 – 3 เมล็ด สีน้ำตาล มีรูปร่างคล้ายกับรูปไต

ชิงชัน
ชิงชัน ใบยาวรี ด้านท้องใบจะมีสีจางกว่าด้านหลังใบ
ดอกชิงชัน
ดอกชิงชัน ดอกสีขาวอมม่วง

การขยายพันธุ์ของชินชัน

ใช้ส่วนอื่นๆ

ธาตุอาหารหลักที่ชิงชันต้องการ

ประโยชน์ของชิงชัน

  • นิยมนำต้นชิงชันนี้มาทำเป็นเครื่องดนตรี เครื่องเรือน หรือเครื่องใช้สอยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลอง, ตะโพน, คันไถ, ด้ามปืน, ด้ามมีด, ตู้, เตียง หรือโต๊ะ ฯลฯ เพราะด้วยลักษณะเนื้อไม้ของชิงชันนั้นจะค่อนข้างแข็งและเหนียว แถมยังมีความสวยงามมากอีกด้วย ซึ่งสำหรับต้นชิงชันนั้นเป็นไม้หายากที่มีราคาแพง ที่เรียกได้ว่ามีประโยชน์ทั้งทางสมุนไพรและอุตสาหกรรมพื้นบ้านเลยทีเดียว
  • ต้นชิงชันเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดหนองคาย  ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของชิงชัน

  • แก่น ช่วยในการบำรุงโลหิตในผู้หญิงได้ดี ให้รสฝาดร้อน
  • เปลือก สามารถนำไปต้มแล้วนำมาชะล้างหรือสมานบาดแผล รวมทั้งรักษาแผลเรื้องรังด้วย

คุณค่าทางโภชนาการของชิงชัน

การแปรรูปของชิงชัน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9909&SystemType=BEDO
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment