ชิงช้าชาลี เป็นไม้เนื้ออ่อนเหนียวใช้แทนเชือกได้

ชิงช้าชาลี

ชื่ออื่นๆ : จุ่งจะลิงตัวแม่ (ภาคเหนือ) จุ่งจะริงตัวพ่อ (ภาคเหนือ) บรเพ็ชร, บรเพ็ชร์, ชิงชาลี (ภาคกลาง) ตะซีคี, ตะคี, ตะซีคิ (กะเหรี่ยง ภาคเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Gulancha Tinospora

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tinospora baenzigeri Forman

ชื่อวงศ์ : MENISPERMACEAE

ลักษณะของชิงช้าชาลี

ต้น  เป็นไม้เลื้อยยืนต้น ส่วนใหญ่จะเห็นลำต้นพาดหรือพันอยู่กับต้นไม้ กำแพงและเสาต่างๆ เป็นไม้เนื้ออ่อนแต่เหนียวมากใช้แทนเชือกได้ ลำต้นหรือที่เรียกว่าเถา เถามีปุ่มปมเล็กน้อย เถาแก่มีรสขม มีลักษณะกลมโตเปลือกขรุขระมีตาแตกเป็นจุดเล็กๆสีน้ำตาลอ่อนประอยู่ตลอดเถา เป็นไม้ใบเดียว

ใบ  ใบจะมีสีเขียวรูปร่างเหมือนหัวใจเรียงสลับ ใบจะเรียงสลับทางกันไปตามลำต้น การเลื้อยจะมีลีลาที่ทอดไปอย่างสวยงามมากเหมือนธรรมชาติได้เจาะจงให้ เถาวัลย์ชนิดนี้มีความงามและอ่อนหวานเหนือกว่าเถาวัลย์ชนิดอื่น

ดอก  ดอกของชิงช้าชาลีจะออกราวเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม ดอกออกเป็นช่อตามเถาและซอกใบ ดอกมีสีเหลืองอ่อนเป็นดอกฝอยๆ และมีกลิ่นหอมมาก เวลามีดอก ลำต้นจะสลัดใบทิ้งหมดเถา เพื่อต้อนรับดอกอ่อนที่เกิดขึ้น

ผล  ผลสดทรงกลม เมื่อสุกจะมีสีเหลือง

ต้นชิงช้าชาลี
ไม้เลื้อย เถามีลักษณะกลมและเหนียว ใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของชิงช้าชาลี

การใช้กิ่ง, การใช้ลำต้น

การขยายพันธ์ง่ายมาก เพียงแต่ท่านปักกิ่งชิงช้าชาลีไว้ในดินที่มีความชุ่มชื้นพอควร มันก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องดูแลรักษามากเหมาะกับการปลูกเป็นไม้เลื้อยประดับมาก ยิ่งถ้าท่านจัดเถาของชิงช้าชาลีที่โตเต็มที่แล้วโยงให้แน่นระหว่างเสาหรือ ต้นไม้ใหญ่ ท่านก็จะได้ชิงช้าไว้ให้เด็กๆเล่น และถ้าได้พันหลายๆเถาและและถึงตอนมีดอกออกตลอดเถา อาจมีผู้ใหญ่แย่งเด็กเล่นชิงช้าก็ได้

ธาตุอาหารหลักที่ชิงช้าชาลีต้องการ

ประโยชน์ของชิงช้าชาลี

  • ไม้เนื้ออ่อนแต่เหนียวมากใช้แทนเชือกได้
  • ประโยชน์และสรรพคุณยาไทย

สรรพคุณทางยาของชิงช้าชาลี

  • เถา รสขมเย็น แก้ไข้ บำรุงกำลัง เจริญธาตุ เจริญอาหาร ทำให้เลือดเย็น
  • สารสกัดด้วยน้ำจากรากชิงช้าชาลี (Tinospora cordifolia (D.C.) Miers) แก่หนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เป็นเบาหวานด้วย alloxan ในขนาด 2.5 และ 5 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัว โดยให้กินติดต่อกันนาน 42 วัน เปรียบเทียบกับหนูกลุ่มที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับสารสกัดพบว่า สารสกัดรากชิงช้าชาลีมีผลลดระดับน้ำตาลในเลือดและในปัสสาวะหนู ลดระดับโคเลสเตอรอล กรดไขมันอิสระ และฟอสโฟไลปิดในสมอง เพิ่มระดับฮีโมโกลบิน และเพิ่มน้ำหนักตัว เพิ่มการทำงานของเอนไซม์ hexokinase ลดการทำงานของเอนไซม์ glucose-6-phosphatase, acid phosphatase, alkali phosphatase และ lactate dehydrogenase พบว่าสารสกัดให้ผลดีกว่ายา glibenclamide สารสกัดในขนาด 7.5 กรัม ต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวไม่แสดงผลดังกล่าวข้างต้น

คุณค่าทางโภชนาการของชิงช้าชาลี

การแปรรูปของชิงช้าชาลี

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11213&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment