ดอกกะเจียว นิยมนำหน่ออ่อนมารับประทานเป็นผักสด

ดอกกะเจียว

ชื่ออื่นๆ : กระเจียว, ปทุมมา , บัวสวรรค์

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ดอกกะเจียว

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Curcuma aeruqinosa Roxb.

ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE

ลักษณะของดอกกะเจียว

เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าในดิน มีลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 80-85 เซนติเมตร กว้างประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งความกว้างนี้ก็แล้วแต่อยู่ที่การดูแล ใบมีสีเขียวโคนสีแดง ลักษณะใบจะคล้ายๆ ใบเตยแต่ไม่เหมือนซะที่เดียว ผิวของใบเรียบไม่มีขน ดอก มีสีม่วงชมพู ในปัจจุบันแหล่งที่รวบรวมพันธุ์ต้นกระเจียวไว้มากเห็นจะอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตอนนี้มีสายพันธุ์กระเจียวที่มีอยู่ในประเทศไทยประมาณ 40 สายพันธุ์

ดอกกระเจียว
ดอกกระเจียว ช่อมีกาบซ้อนอยู่มาก ออกดอกสีชมพูอมม่วง

การขยายพันธุ์ของดอกกะเจียว

-/-

ธาตุอาหารหลักที่ดอกกะเจียวต้องการ

ประโยชน์ของดอกกะเจียว

นิยมนำมารับประทานเหมือนผักพื้นบ้านทั่วไป โดยรับประทานหน่ออ่อน และ ดอกกระเจียว นำมาลวก กินเป็นผักสด นิยมรับประทานกับน้ำพริก ลาบ ส้มตำ ขนมจีนน้ำยา ซึ่งประโยชน์จากการรับประทานกระเจียวนอกจากจะเป็นอาหารแล้ว มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและการรักษาโรคอีกด้วย

สรรพคุณทางยาของดอกกะเจียว

ดอกอ่อนมีรสเผ็ดร้อน กลิ่นหอม ใช้เป็นยาขับลมในกระเพาะอาหาร ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ และลดกรดในกระเพาะอาหาร จึงช่วยทำให้รู้สึกสบายท้องและช่วยให้สุขภาพดี (ดอกอ่อน)
ดอกมีสรรพคุณช่วยแก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด (ดอก)
หน่ออ่อนใช้เป็นยาสมานแผล (หน่ออ่อน)
เหง้าใช้เป็นยาแก้ปวดเมื่อย (เหง้า)

คุณค่าทางโภชนาการของดอกกะเจียว

การแปรรูปของดอกกะเจียว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9977&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment