ดอกบัวเผื่อน ออกดอกเดี่ยว อยู่เหนือน้ำ

บัวเผื่อน

ชื่ออื่นๆ : นิโลบล (กรุงเทพฯ) ป้านสังก่อน (เชียงใหม่) ปาลีโป๊ะ (มลายู นราธิวาส) บัวผัน, บัวขาบ (ภาคกลาง) บัวแบ้, บัยนา

กำเนิด : เป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองของไทย จัดอยู่ในสกุลเดียวกับบัวผัน

ชื่อสามัญ : Water lily

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Nymphaea nouchali Burm.f.

ชื่อวงศ์ :  NYMPHAEACEAE

ลักษณะของบัวเผื่อน

ต้น เป็นพันธุ์ไม้น้ำคล้ายบัวสาย เป็นพืชที่มีอายุหลายปี มีเหง้าและไหลอยู่ใต้ดิน

ใบ เป็นใบเดียวออกแบบเรียงสลับเป็นกลุ่ม แผ่นใบลอยบนผิวน้ำ ใบรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 10-25 ซม. กว้าง 8-18 ซม.
ผิวใบเกลี้ยงหน้าใบสีเขียว ท้องใบสีเขียวอ่อนถึงสีม่วงจาง ปลายใบทู่ถึงกลมมน โคนใบเว้าลึก ฃอบใบเรียงถึงหยักตื้นๆ
เส้นใบ 10-15 เส้น แยกจากจุดเชื่อมกับก้านใบ ก้านใบสั้นยาวไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ ปกติยาว 0.5-2 เมตร

ดอก เป็นดอกเดี่ยว อยู่เหนือน้ำ มีสีขาวแกมชมพู ถึงอ่อนคราม กลิ่นหอมอ่อนๆ หากมีสีขาวแกมชมพูจะเรียกว่า “บัวเผื่อน” ส่วนดอกสีครามอ่อนและมีขนาดใหญ่เรียกว่า “บัวผัน” บางครั้งนักวิทยาศาสตร์แยกเป็น 2 ชนิด บางครั้งว่าเป็นชนิดเดียวกันแต่มี 2 พันธุ์ แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 6-18 กลีบ มีเกสรตัวผู้สีเหลืองเป็นจำนวนมาก รังไข่มี 10-20 ช่อง ฝังตัวแน่นอยู่ใต้แผ่นรองรับเกสรตัวเมียรูปถ้วย ก้านดอกคล้ายก้านใบ และยาวไล่เลียกัน ผลจมอยู่ใต้น้ำหลังจากผสมเกสรแล้ว

ดอกบัวเผื่อน
ดอกบัวเผื่อน ดอกเดี่ยว สีม่วง

การขยายพันธุ์ของบัวเผื่อน

การใช้หน่อหรือเหง้า

ธาตุอาหารหลักที่บัวเผื่อนต้องการ

ประโยชน์ของบัวเผื่อน

  • นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับไว้ในอ่างหรือสระน้ำเพื่อความสวยงาม
  • ดอกบัวเผื่อนและดอกบัวผันมีดอกที่สวยงาม จึงมีการปลูกไว้ตัดดอกเพื่อขาย
  • ก้านดอกสามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือใช้จิ้มกินกับน้ำพริก หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ผัดสายบัวกับหมูหรือกุ้ง ต้มสายบัวกับปลาทู เป็นต้น

สรรพคุณทางยาของบัวเผื่อน

  • ดอก รสฝาดหอมเย็น บำรุงหัวใจให้แช่มชื่น บำรุงกำลัง แก้ไขตัวร้อน แก้ไข้
  • เมล็ด เมื่อฝักแก่ดอกร่วงหมดแล้วเรียกว่า”โตนดบัว” มีเมล็ดเล็กๆ คล้ายเมล็ดฝิ่น คั่วรับประทานเป็นอาหารได้ รสหอมมัน บำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง

คุณค่าทางโภชนาการของบัวเผื่อน

การแปรรูปของบัวเผื่อน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11046&SystemType=BEDO
www.arit.kpru.ac.th, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment