ดอกผีเสื้อ เป็นไม้พุ่ม ดอกคล้ายปีกของผีเสื้อ

ดอกผีเสื้อ

ชื่ออื่นๆ : Pink, Indian pink, China pink, Rainbow pink, ผีเสื้อ

ต้นกำเนิด : ยุโรปตอนใต้

ชื่อสามัญ : Dianthus

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dianthus chinensis

ชื่อวงศ์ : CARYOPHYLLACEAE

ลักษณะของดอกผีเสื้อ

ต้น ดอกผีเสื้อเป็นไม้พุ่มเล็กสูงประมาณ 10-15 นิ้ว

ใบ  ใบมีสีเขียวแก่ ลักษณะใบยาวปลายเรียวแหลม ขอบใบทั้งสองข้างมักจะโค้งเข้าหากลางใบเล็กน้อย ทำให้มีลักษณะคล้ายร่องน้ำ ใบออกเป็นคู่แบบสลับ โดยใบจะหุ้มรอบข้อทำให้ส่วนข้อมีลักษณะบวมโต

ดอก  ดอกมีทั้งชนิดดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว ปลายกลีบดอกจะมีลักษณะจักๆ คล้ายฟันปลาหรือฟันเลื่อย กลีบหุ้มดอก มีลักษณะรวมติดกันเป็นกรวยหุ้มกลีบดอกไว้ ดอกมีขนาดตั้งแต่ 2.5-3 นิ้ว สีของดอกมีหลายสี คือ ขาว ชมพู แดง แดงอมม่วง และอาจมีสองสีในดอกเดียวกัน

พันธุ์ที่ใช้ปลูกมี พันธุ์ Bravo ดอกมีสีแดงเข้ม พันธุ์ China Doll ดอกสีแดงเข้มแต้มขาว กลีบดอกซ้อน พันธุ์ Snowflake ดอกสีขาว พันธุ์ Snowfire เป็นลูกผสม ดอกมีสองสี คือ มีสีขาวเป็นพื้น ตรงใจกลางดอกมีสีแดง พันธุ์ ในชุด Charm siries คือ Coral Charm มีสีชมพู, Crimson Charm มีสีแดง, White Charm มีสีขาว, Light Charm มีสีชมพูอ่อน

ดอกผีเสื้อ
ดอกผีเสื้อ ปลายกลีบดอกจะเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย อาจมีสองสีในดอกเดียวกัน

การขยายพันธุ์ของดอกผีเสื้อ

การเพาะเมล็ด, การปักชำกิ่ง, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ผีเสื้อชอบแสงแดดจัด อุณหภูมิกลางคืนเย็นแต่ก็ไม่จำเป็นต้องเย็นมาก สามารถปลูกได้ในกรุงเทพฯ ดินปลูกต้องมีความอุดมสมบูรณ์ มีธาตุอาหารครบครัน โปร่ง มีอินทรีย์วัตถุสูง ถ้าต้องการดอกที่มีขนาดสม่ำเสมอ ดอกดกและดอกบานพร้อมๆ กัน ควรเด็ดยอดออก โดยทำการเด็ดยอดเมื่อต้นสูงประมาณ 6 นิ้ว หรืออาจเด็ดหลังจากปลูกได้ประมาณ 4 สัปดาห์ หลังจากนั้นต้นจะแตกกิ่งก้านทำให้พุ่มต้นใหญ่ขึ้น ระยะเวลาจากเพาะเมล็ดถึงให้ดอกประมาณ 3 เดือน

ธาตุอาหารหลักที่ดอกผีเสื้อต้องการ

ประโยชน์ของดอกผีเสื้อ

ผีเสื้อเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ

  • ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
  • ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่าของคาร์เนชั่น
  • ใบของคาร์เนชั่นมีสีเขียวอมเทาเงิน

สรรพคุณทางยาของดอกผีเสื้อ

คุณค่าทางโภชนาการของดอกผีเสื้อ

การแปรรูปของดอกผีเสื้อ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9873&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment