ดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง ไม้พุ่มมีขนทั้งต้น มีสรรพคุณทางยา

ดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

ชื่ออื่นๆ : ดับยาง มะเขือดง ผ่าแป้ง ฝ้าแป้ง สะแป้ง ฉับแป้ง (สุโขทัย) ฝ่าแป้ง (ภาคเหนือ) มั่งโพะไป่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ขาตาย ขากะอ้าย (ภาคใต้) หูควาย (ยะลา) สมแป้น (เพชรบุรี) เอี๋ยเอียงเฮียะ (แต้จิ๋ว) แหย่เยียนเยวียะ (จีนกลาง) Wild Tobacco, Potato Tree, Canary Night¬shade, Turkey-berry

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Solanum erianthum D. Don

ชื่อวงศ์ : SOLANACEAE

ลักษณะของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

เป็นไม้พุ่มมีขนทั้งต้น ผลัดใบตามฤดูกาล สูง 1-3 เมตร เปลือกต้นสีเทาขาว ใบออกสลับกัน ยาว 6-15 ซม. กว้าง 4-14 ซม. ใบ อ่อนนุ่มมีขนปกคลุมหนาแน่น ขอบใบเรียบ หลังใบสีขาว ท้องใบสีดอกเลา ก้านใบยาว 3-6 ซม. ช่อดอกเกิดที่ยอดต้น แยกเป็น 2 แขนง ก้านช่อดอก ยาว 5-10 ซม. ดอกสีขาวออกค่อนข้างแน่น มี 5 กลีบ อับเรณูสีเหลือง เกสรตัวผู้ 5 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน มีดอกในฤดูร้อน มักขึ้นตามที่รกร้างทั่วไป ผลกลม สีเขียวอมเหลือง

ต้นดับยาง
ต้นดับยาง ไม้พุ่มมีขนทั้งต้น เปลือกต้นสีเทาขาว

การขยายพันธุ์ของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

เพาะเมล็ดและวิธีการปักชำกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้งต้องการ

ประโยชน์ของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

ลำต้น ใช้ทำฟืน
ต้นนำไปตากแห้งเอาไปทำดินปืน ต้นนำไปเผาไฟให้เป็นถ่านแล้วตำเป็นส่วนผสมในการทำดินปืน

ผลดับยาง
ผลดับยาง ผลกลม สีเขียวอมเหลือง

สรรพคุณทางยาของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

ทั้งต้น ลดการอักเสบจากแผลไฟไหม้
ใบ แก้อาการตัวบวม ฟกช้ำ ปวดหัว ปวดฟัน โรคเก๊าท์ วัณโรค ที่ต่อมน้ำเหลืองระยะแรกเริ่ม ฝี แผลเปื่อย แผลไฟไหม้ ผิวหนังอักเสบ แผลเปื่อยในปาก และใช้ห้ามเลือด
ราก แก้บิด แก้ท้องร่วง ขับระดูขาว

ดอกดับยาง
ดอกดับยาง ดอกสีขาว มี 5 กลีบ อับเรณูสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

การแปรรูปของดับยาง, ฉับแป้ง, ฝ่าแป้ง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11887&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment