ดาดชมพู ดอกสีชมพูอมม่วง เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย

ดาดชมพู

ชื่ออื่นๆ : ดาดชมพู

ต้นกำเนิด : เป็นพืชเฉพาะถิ่นของไทย

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Begonia hymenophylla Gagnep.

ชื่อวงศ์ : Begoniaceae

ลักษณะของดาดชมพู

ต้น  ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงประมาณ 5 ซม. ลำต้นสั้น ติดทน

ใบ  ใบรูปเกือบกลมหรือรูปหัวใจ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–3 ซม. ปลายใบมน โคนใบรูปหัวใจ เว้าตื้น ๆ หรือคล้ายก้นปิด ใบค่อนข้างหนา ด้านบนสีเขียวเป็นมันวาว ด้านล่างสีเขียวอ่อน ขอบใบหยักซี่ฟัน ห่าง ๆ ปลายหยักมนหรือแหลม เส้นโคนใบ 5 เส้น ก้านใบยาว 0.5–3 ซม. สีน้ำตาลแดง

ดอก  ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ก้านช่อยาว 4–7 ซม. ใบประดับคล้ายหูใบขนาดเล็ก ติดทน ดอกแยกเพศอยู่ร่วมต้น สีชมพูสดอมม่วง ก้านดอกยาว 3–6 มม. ดอกเพศผู้ กลีบรวม 4 กลีบ กลีบคู่นอกรูปรีเกือบกลม ยาว 3–5 มม. กลีบคู่ในรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ยาวเท่า ๆ กลีบนอก ปลายเว้า เกสรเพศผู้ยาวประมาณ 1 มม. ก้านชูอับเรณูเชื่อมติดกันที่โคนเป็นเส้าเกสร เกือบไร้ก้าน อับเรณูสีเหลือง รูปสามเหลี่ยม ปลายตัด ดอกเพศเมีย กลีบดอก 5–7 กลีบ กลีบด้านนอกมี 3 กลีบ กลีบด้านในมี 2 กลีบ ลักษณะคล้ายดอกเพศผู้ ฐานรองดอกมี 3 ปีก ยาวประมาณ 6 มม. รวมปีก รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 2 ช่อง ก้านเกสรเพศเมีย 2 อัน สั้น ยอดเกสรเพศเมียรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว มีปุ่มเล็ก ๆ

ผล  ผลแบบแคปซูล ห้อยลง ยาวประมาณ 1 ซม. รวมปีก เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก

ดาดชมพู
ดาดชมพู ดอกสีชมพูสดอมม่วง อับเรณูสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของดาดชมพู

ขึ้นบนก้อนหินที่เปียกชื้นในลำธาร ในป่าดิบแล้ง ความสูง 200–300 เมตร

ธาตุอาหารหลักที่ดาดชมพูต้องการ

ประโยชน์ของดาดชมพู

สรรพคุณทางยาของดาดชมพู

คุณค่าทางโภชนาการของดาดชมพู

การแปรรูปของดาดชมพู

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9562&SystemType=BEDO
https://www.dnp.go.th

Add a Comment