ดาดตะกั่ว ไม้คลุมดิน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ

ดาดตะกั่ว

ชื่ออื่นๆ :  ดาดตะกั่ว, ฮ่อมครั่ง (ภาคเหนือ) ห่งจี๊อั้ง (จีน) ฤาษีผสมแล้ว (ไทย)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Red ivy, Red flame ivy

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hemigraphis alternata T. Anders

ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE

ลักษณะของดาดตะกั่ว

ต้น  เป็นพรรณไม้ล้มลุก ต้นทอดเลื้อยไปตามดิน มีลำต้นเป็นสีแดง และเป็นข้อ ๆ ลำต้นสูงประมาณ 10-15 ซ.ม.

ใบ  ออกเป็นใบเดี่ยวเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ด้านบนเป็นสีเขียว แต่ถ้าถูกแดดจัด ๆ จะกลายเป็นสีเทาอมเขียว ส่วนด้านใต้ใบนั้นเป็นสีแดง ขอบใบจะวัดขนาดของใบนั้นกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาว 2-3 นิ้ว กิ่งก้าน  แตกสาขาออกเป็นพุ่มแผ่กระจายมากมาย

ดอก  ออกดอกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของกิ่ง ในแต่ละช่อนั้นจะมีใบประดับเรียงซ้อน ๆ กันเป็นชั้น ๆ ยาว 1-1.5 นิ้ว ตัวดอกเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ ปลายดอกแยกออกเป็น
5 แฉก สีขาวทรงดอกยาวประมาณ 0.5 นิ้ว

ผล ดาดตะกั่วนี้เป็นพืชที่มีผลเช่นกัน แต่ปลูกในประเทศไทยยังไม่เคยพบเลย

ดาดตะกั่ว
ดาดตะกั่ว ลำต้นสีแดง ทอดเลื้อยตามดิน

การขยายพันธุ์ของดาดตะกั่ว

ใช้กิ่ง/ลำต้น/ปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่ดาดตะกั่วต้องการ

ประโยชน์ของดาดตะกั่ว

  • นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ตามสวนหย่อม หรือปลูกประดับเอาไว้ใต้โคนต้นไม้ หรือตาม
    ขดหิน
  • ดาดตะกั่วเป็นไม้ประดับประเภทไม้คลุมดินที่มีสีสันงดงาม แปลกตามาก ดาดตะกั่วมีใบรูปหัวใจ ขอบใบหยัก ผิวใบด้านบนมีสีคล้ายกับสีโลหะ เมื่อถูกแสงจะมีประกายสวยงาม ส่วนใบด้านล่างจะมีสีแดงอมม่วง ดาดตะกั่วสามารถทนทานต่อการขาดน้ำได้ระยะหนึ่ง

สรรพคุณทางยาของดาดตะกั่ว

ต้น ดื่มเป็นยาแก้ตกเลือด รักษาโรคผิวหนัง ใบเป็นยาแก้บิด แก้รดสีดวงทวาร แก้โรคนิ่ว ขับปัสสาวะ

คุณค่าทางโภชนาการของดาดตะกั่ว

การแปรรูปของดาดตะกั่ว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11561&SystemType=BEDO
www.flickr.com

Add a Comment