ขันทองพยาบาท ปลูกประดับให้ร่มเงา และมีสรรพคุณทางยา

ขันทองพยาบาท

ชื่ออื่นๆ : กระดูก ยายปลวก (ภาคใต้) ขนุนดง (เพชรบูรณ์) ขอบนางนั่ง (ตรัง) ขัณฑสกร ช้องรำพัน สลอดน้ำ (จันทบุรี) ขันทอง (พิจิตร) มะดูก หมากดูก (ภาคกลาง) ข้าวตาก ขุนทอง คุณทอง (ประจวบคีรีขันธ์) โจ่ง (สุรินทร์) ดูกไทร ดูกไม้ เหมือดโลด (เลย) ดูกหิน (สระบุรี) ดูกไหล

ต้นกำเนิด : เขตร้อนของทวีปเอเชียบริเวณเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชื่อสามัญ : ขันทองพยาบาท

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Suregada multiflora (A.Juss.) Baill.

ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

ลักษณะของขันทองพยาบาท

ต้น ไม้พุ่ม ไม้ต้นขนาดเล็กไม่ผลัดใบ สูง 3-7 เมตร เรือนยอดรูปไข่ ทึบ เปลือกนอกสีเทา เปลือกเรียบ เปลือกในสีขาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลมหรือมน ฐานใบสอบหรือเบี้ยว ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยง ใบแก่ก่อนร่วงสีแดงหรือสีเหลือง กิ่งอ่อนจะเกลี้ยง มีรอยแผลใบ เป็นรอยควั่นรอบกิ่ง

ดอก  ดอกเป็นกระจุกซ้อน ออกตามง่ามใบ แต่ละกระจุกมี 1-12 ดอก ดอกสีเขียวอ่อน เหลืองอ่อน ดอกเป็นแบบแยกเพศต่างต้น กลีบเลี้ยง 5-6 กลีบ ไม่มีกลีบดอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร มีกลิ่นหอม

ผล ผลสดแบบมีเนื้อ ผลกลมเกลี้ยง เมื่อแก่มีสีเหลือง ผลเป็น 3 พู เมื่อแก่แตกเป็น 3 เสี้ยว ผลแก่เดือนเมษายนถึงมิถุนายน

ต้นขันทองพยาบาท
ต้นขันทองพยาบาท เรือนยอดรูปไข่ทึบ ใบรีปลายแหลม

การขยายพันธุ์ของขันทองพยาบาท

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ขันทองพยาบาทต้องการ

ประโยชน์ของขันทองพยาบาท

เนื้อไม้ ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ภายในครัวเรือน
ปลูกไม้ประดับตามสวนสาธารณะหรือตามสถานที่ต่างๆ ให้มีร่มเงา

สรรพคุณทางยาของขันทองพยาบาท

ราก  รสเมาเบื่อร้อน แก้ลม แก้ประดง แก้พิษในกระดูก แก้โรคผิวหนัง รักษาน้ำเหลืองเสีย
เนื้อไม้ ใช้แก้ลมพิษ แก้กามโรค
เปลือกต้น เป็นยาแก้โรคผิวหนังกลากเกลื้อน ใช้เป็นยาบำรุงเหงือก ทำให้ฟันทน เป็นยาถ่ายและฆ่าพยาธิ รักษาโรคปวดไขข้อ

ผลขันทองพยาบาท
ผลขันทองพยาบาท กลมเกลี้ยง เมื่อแก่มีสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของขันทองพยาบาท

การแปรรูปของขันทองพยาบาท

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12098&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment