ตดหมูตดหมา ไม้เถาเลื้อย ยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด

ตดหมูตดหมา

ชื่ออื่นๆ : ตำยานตัวผู้ เครือตดหมา (นครราชสีมา), หญ้าตดหมา (ภาคเหนือ), พังโหม (ภาคกลาง), ย่านพาโหม (ภาคใต้), ตดหมูตดหมา, หญ้าตดหมูตดหมา

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : –

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Paederia linearis Hook.f.

ชื่อวงศ์ : ASULEPIADACEAE

ลักษณะของตดหมูตดหมา

เป็นไม้เถาเลื้อยประเภทล้มลุก ลำต้นขนาดเล็ก ลำต้นและใบมียางสีขาว เมื่อเด็ดขยี้ มีกลิ่นเหม็นคล้ายกลิ่นตด ใบเป็นประเภทใบเดี่ยว รูปเรียวยาว หรือรูปหอก ออกเป็นคู่ตรงข้าม สีเขียว เนื้อใบบาง ก้านใบสั้น เส้นใบโค้งจรดกันที่ใกล้ขอบใบ ใบกว้าง 10-25 มิลลิเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อตรงซอกใบหรือโคนก้านใบ ช่อละ 2-3 ดอก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ขนาดเล็ก กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมติดกันตรงโคนกลีบ ปลายกลีบแยกจากกัน กลีบด้านนอกสีขาว ด้านในสีม่วงแดงหรือสีชมพู ปะด้วยจุดสีม่วงจุดสีน้ำตาล เกสรตัวผู้มี 5 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อันอยู่ตรงกลาง ผลเป็นฝักยาวสีเขียว ยาวประมาณ 4-7 เซนติเมตร กว้าง 1-4 เซนติเมตร

ตดหมูตดหมา
ตดหมูตดหมา ลำต้นและใบมียางสีขาว ใบสีเขียว เนื้อใบบาง

การขยายพันธุ์ของตดหมูตดหมา

เพาะเมล็ดและเพาะเลี้ยงต้นอ่อน

ธาตุอาหารหลักที่ตดหมูตดหมาต้องการ

ประโยชน์ของตดหมูตดหมา

เป็นที่นิยมในมวลหมู่ชาวเมืองเหนือ อีสาน เก็บยอดอ่อน ใบอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด ร่วมกับน้ำพริก ลาบขม ก้อย ชาวใต้นิยมนำไปหั่นฝอย ผสมปรุงข้าวยำ คนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบ ผสมปรุงขนมขี้หนู ทำให้ขนมมีสีเขียว ส่วนดอกมีการนำมารับประทานกันเป็นผักสดบ้าง แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม ยอดอ่อนและใบมีรสขมมัน กลิ่นเหม็นเขียว บางคนก็ว่าหอมเหมือนตดตนเอง ช่วยระบายความร้อนในร่างกาย ประโยชน์ทางยา นับได้ว่าเป็นสมุนไพรตัวหนึ่ง ที่มีสรรพคุณรักษาอาการอักเสบบริเวณคอ ปาก รักษาบาดแผล เป็นยาระบายอ่อนๆ สำหรับเด็ก

สรรพคุณทางยาของตดหมูตดหมา

ส่วนใบ ใช้แก้ท้องเสีย แก้ตัวร้อน แก้ธาตุพิการ แก้คัน แก้ปวดฟัน ถอนพิษงู
ส่วนเถา ใช้แก้ซาง แก้ท้องเสีย แก้ไข้ตัวร้อน รักษารำมะนาด ขับพยาธิไส้เดือน
ดอก ใช้ขับน้ำนมและแก้ไข้จับสั่น
ผล ใช้แก้ไข้จับสั่น หืดไอ แก้ริดสีดวงทวาร ขับน้ำนม
ส่วนราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ

คุณค่าทางโภชนาการของตดหมูตดหมา

การแปรรูปของตดหมูตดหมา

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11237&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment