ข้าวตอกพระร่วง ดอกมีกลิ่นหอม เป็นไม้มงคล ปลูกประดับหรือทำเป็นไม้แคระ

ข้าวตอกพระร่วง

ชื่ออื่นๆ : ซากุระแคระ

ต้นกำเนิด : จีนและเวียดนาม

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Serissa japonica (Thunb.) Thunb.

ชื่อวงศ์ : RUBIACEAE

ลักษณะของข้าวตอกพระร่วง

ต้น ไม้พุ่ม สูงประมาณ 1 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นสีน้ำตาล การแตกกิ่งก้านมาก

ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายแหลมหรือติ่งแหลม โคนสอบ ขอบเรียบ แผ่นใบด้านบนสีเขียวขอบใบสีขาว ใต้ใบสีเขียวอ่อน เส้นกลางใบลักษณะร่องตื้น ก้านใบสั้น

ดอก ดอกเดี่ยว ออกตามปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยง 4-6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมคว่ำ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นหลอด รูปแตร  ยาว 4-8 มิลลิเมตร กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น เกสรเพศผู้ 4-6 เกสร ติดใกล้ปากหลอด  เกสรเพศเมีย 1 เกสร แยกออกเป็น 2 พู ดอกมีกลิ่นหอม

ต้นข้าวตอกพระร่วง
ต้นข้าวตอกพระร่วง ไม้พุ่มไม่ผลัดใบ แผ่นใบด้านบนสีเขียว ขอบใบสีขาว
ดอกข้าวตอกพระร่วง
ดอกข้าวตอกพระร่วง ดอกสีขาว ออกตามปลายกิ่ง

การขยายพันธุ์ของข้าวตอกพระร่วง

ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

ธาตุอาหารหลักที่ข้าวตอกพระร่วงต้องการ

ดินร่วน ต้องการน้ำมาก ชอบแดดจัด

ประโยชน์ของข้าวตอกพระร่วง

ปลูกประดับเป็นไม้กระถาง ปลูกประดับตามแนวรั้ว หรือทำเป็นไม้แคระ เป็นไม้มงคล เป็นสิริมงคล แก่ผู้ปลูก แคล้วคลาดจากภัยอันตราย

สรรพคุณทางยาของข้าวตอกพระร่วง

คุณค่าทางโภชนาการของข้าวตอกพระร่วง

การแปรรูปของข้าวตอกพระร่วง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11631&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment