ตะเคียนชันตาแมว ต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนราธิวาส

ตะเคียนชันตาแมว

ชื่ออื่นๆ : ตะเคียนชัน, ตะเคียนตาแมว (ใต้) จะเคียนชัน, จึงามาส (มลายู-นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : ขึ้นเป็นกลุ่มในป่าดิบ พบมากที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Neobalanocarpus heimii ( King) P.S.Ashton (Balanocarpus heimii King)

ชื่อวงศ์ : Dipterocarpaceae

ลักษณะของตะเคียนชันตาแมว

ต้น ไม้ต้น สูง 30-40 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่ม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ล่อนเป็นสะเก็ด มีชันสีขาว

ใบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปดาบ กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 8-15 เซนติเมตร ปลายแหลม โคนสอบ

ดอก ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง

ผล ผลเป็นรูปขอบขนานปลายโค้ง กว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มีกลีบเป็นกระทง 5 พู หุ้มแนบอยู่ประมาณ 1 ใน 4 ของผล

ต้นตะเคียนตาแมว
ต้นตะเคียนตาแมว ลำต้นเปลาตรง
ใบตะเคียนตาแมว
ใบตะเคียนตาแมว แผ่นใบรูปใบหอกหรือรูปดาบ ปลายใบแหลม

การขยายพันธุ์ของตะเคียนชันตาแมว

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะเคียนชันตาแมวต้องการ

ประโยชน์ของตะเคียนชันตาแมว

  1. นิยมปลูกเพื่อให้ร่มเงา
  2. เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้าง ทำเรือสำเภาเดินทะเล เสากระโดงเรือ
  3. ชัน ใช้ผสมน้ำมันทาไม้และน้ำมันชักเงาอย่างดี
  4. ต้นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดนราธิวาส ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของตะเคียนชันตาแมว

คุณค่าทางโภชนาการของตะเคียนชันตาแมว

การแปรรูปของตะเคียนชันตาแมว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10956&SystemType=BEDO
www.rspg.or.th
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment