ตะเคียนทราย เป็นไม้ยืนต้นสูงใหญ่มาก เนื้อไม้มีน้ำยางชันเป็นจำนวนมาก

ตะเคียนทราย

ชื่ออื่นๆ : ตะเคียนหิน (ใต้) ตะเคียนหนู (นครราชสีมา) เคียนทราย (ตราด ตรัง) เหลาเตา (สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราข)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ตะเคียนหิน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hopea ferrea Laness

ชื่อวงศ์ : DIPTEROCARPACEAE

ลักษณะของตะเคียนทราย

ต้น เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 15 – 30 เมตร เปลือก สีน้ำตาลแก่ แตกล่อนเป็นสะเก็ด โคนต้นมักมีพูพอนต่ำเรือนยอดเป็นพุ่ม กลมหรือรูปกรวยแหลมมองเห็นสีแดงอ่อนในระยะที่ผลิใบใหม่ ๆ กิ่งอ่อนเรียบมีขนประปราย

ใบ ใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่แกมรูปหอก กว้าง 2.5 – 3 เซนติเมตร ยาว 6 – 8.5 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งทู่ โคนมนกว้างค่อย ๆ เรียว ไปทางปลาย ใบเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน ใบอ่อนสีแดงเรื่อๆ ใบแห้งสีเขียวอ่อน ใบเมื่อแห้งจะมีสีดำ

ดอก ดอกเล็ก สีขาว หรือขาวปนเหลืองอ่อน ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบและปลายกิ่ง

ผล ผลโตประมาณ 1.4 เซนติเมตร ปลายเป็นติ่งแหลม มีขนประปราย มีปีกยาว 2 ปีก

ตะเคียนหิน
ตะเคียนหิน โคนต้นมักมีพูพอนต่ำเรือนยอดเป็นพุ่ม

การขยายพันธุ์ของตะเคียนทราย

ใช้เมล็ด/การเพาะปลูกด้วยเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะเคียนทรายต้องการ

ประโยชน์ของตะเคียนทราย

  • เนื้อไม้ใช้ทำเครื่องเรือน เรือขุดเสา สะพาน หมอนรองรางรถไฟทนทานและแข็งแรงมากในกลางแจ้งการ แปรรูปควรทำขณะที่ไม้ยังสดอยู่
  • พันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537

สรรพคุณทางยาของตะเคียนทราย

  • ดอกใช้เข้ายาเป็นเกสรร้อยแปด
  • ต้มน้ำจากเปลือกใช้ล้างแผลผสมกับเกลืออมป้อง กันฟันผุ
  • เนื้อไม้ใช้เป็นส่วนประกอบทำยารักษาโรคเลือดลมไม่ปกติ แก้กระษัย
  • ยาง ใช้ผสมน้ำมันรักษาแผลสด

คุณค่าทางโภชนาการของตะเคียนทราย

การแปรรูปของตะเคียนทราย

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10755&SystemType=BEDO
www.dnp.go.th
www.th.wikipedia.org
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment