ตะแบกเลือด เป็นไม้ประดับ เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง

ตะแบกเลือด

ชื่ออื่นๆ : ตะแบกเลือด (ภาคตะวันตกเฉียงใต้) โคะกาง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่) ปราบตำเลีย (เขมร-บุรีรัมย์) เปีย (อุบลราชธานี) เปื๋อยปั่ง เปื๋อยปี เปื๋อยสะแอน (ภาคเหนือ); มะกาเถื่อน (เงี้ยว-ภาคเหนือ) มะเกลือเลือด (ภาคกลาง)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ตะแบกเลือด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia corticosa Pierre ex Laness.

ชื่อวงศ์ : COMBRETACEAE

ลักษณะของตะแบกเลือด

ต้น  ไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ สูงประมาณ 35 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นสีเทาหรือน้ำตาลแดง ขรุขระเป็นปุ่มปมและเปลือกกร่อนหลุดออกเป็นแผ่นบางๆ เปลือกชั้นในสีชมพูแดง

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉากแผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ขนาด 5-9 x 7-15 เซนติเมตร ปลายใบมนหรือเป็นติ่งแหลม โคนใบสอบเข้าถึงกลม จุดเด่นที่โคนใบมีต่อม 2 ต่อมชัดเจน ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุมทั้งสองด้าน หลังใบมองเห็นเส้นใบและเส้นใบย่อยชัดเจน

ดอก ช่อดอกแบบช่อหางกระรอกออกตามกิ่งและซอกใบใกล้ปลายกิ่ง สีเหลือง กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปกรวย ปลายแยกเป็น 5 แฉก มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ไม่มีกลีบดอก

ผล แห้งมีปีกตามยาวผล 3 ปีก ทรงกลม แข็ง มีขนสีน้ำตาลสั่นนุ่นหนาแน่น มี 1 เมล็ด รูปรี

ต้นตะแบกเลือด
ต้นตะแบกเลือด ลำต้น เปลาตรง เปลือกต้นสีเทาขรุขระ
ผลตะแบกเลือด
ผลตะแบกเลือด ผลแห้งมีปีกตามยาว มีขนสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของตะแบกเลือด

ใช้เมล็ด/เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตะแบกเลือดต้องการ

ประโยชน์ของตะแบกเลือด

เป็นไม้ประดับ เนื้อไม้ ใช้ในการก่อสร้างส่วนต่างๆของอาคารบ้านเรือนที่อยู่ในร่ม ใช้ทำเสา เสาเข็ม และสามารถนำมาเผาเป็นถ่าน ไม้และเปลือก ให้น้ำฝาดชนิด Pyrogallol

ใบตะแบกเลือด
ใบตะแบกเลือด ใบรูปไข่กว้าง ใบอ่อนมีขนสีน้ำตาลปกคลุม

สรรพคุณทางยาของตะแบกเลือด

เปลือก ใช้ปรุงเป็นยาแก้บิด มูกเลือด

หมอพื้นเมืองใช้เปลือกต้นปรุงเป็นยาแก้บิดมูกเลือด และลงแดง

คุณค่าทางโภชนาการของตะแบกเลือด

การแปรรูปของตะแบกเลือด

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9559&SystemType=BEDO
http://www.qsbg.org
http://science.sut.ac.th

Add a Comment