ตับเต่าต้น ผลใช้ย้อมผ้าและเบื่อปลา

ตับเต่าต้น

ชื่ออื่นๆ : ตับเต่า (คนเมือง), มะไฟผี (เชียงราย), มะโกป่า (แพร่), ชิ้นกวาง, เรื้อนกวาง, ลิ้นกวาง (ปราจีนบุรี), ตับเต่าหลวง, มะพลับดง (ราชบุรี), มะมัง (นครราชสีมา), ตับเต่าใหญ่ (ชัยภูมิ), เฮื้อนกวาง (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกฉียงเหนือ), กากะเลา, มาเมี้ยง และ แฮดกวาง (ภาคตะวันออกฉียงเหนือ)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros ehretioides Wall. ex G.Don

ชื่อวงศ์ : EBENACEAE

ลักษณะของตับเต่าต้น

ต้น : ไม้ต้นขนาดกลาง สูง 10 – 15 เมตร ตรง เปลือกสีน้ำตาลเทาเปลือกในเขียวอ่อน แก่นสีน้ำตาล ใบ : เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกัน แผ่นใบแผ่รูปขอบขนาน หรือมน กว้าง 7 – 23 เซนติเมตร ยาว 10 – 23 เซนติเมตร โคนใบกลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบเกลี้ยง ดอก : มีดอกเพศผู้และเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้อยู่รวมกันเป็นช่อเล็ก ๆ ตามกิ่งหรือง่ามใบช่อหนึ่งมักมี 3 ดอก โคนเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ผล : รูปป้อมกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 2 เซนติเมตร ส่วนบนมีกลีบรองดอกติดอยู่ชัดเจน ผลแก่แห้งเปลี่ยนเป็นสีดำ เมล็ด : เมล็ดถ้าตัดตามขวางจะเห็นว่าระหว่างเปลือกนอก กับ เนื้อขาว ๆ ของ เมล็ด ย่นขยุกขยิก

ตับเต่าต้น
ผลกลม ผลแก่มีสีเหลืองอ่อน

การขยายพันธุ์ของตับเต่าต้น

ใช้เมล็ด/ขึ้นประปรายในป่าแดง และป่าเบญจพรรณโปร่งทั่วไปทางภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ธาตุอาหารหลักที่ตับเต่าต้นต้องการ

ประโยชน์ของตับเต่าต้น

ข้อมูลจากเอกสาร : ผล ใช้ย้อมผ้าและเบื่อปลา

สรรพคุณทางยาของตับเต่าต้น

ยาผสมสมุนไพรตำรับ26 ต้มน้ำดื่มรักษาโรคทางเดินปัสสาวะ ข้อมูลจากภูมิปัญญาไทย : แก่น 2 กำมือต้มน้ำ ให้สตรีหลังคลอด ดื่มวัน ละ3-4ครั้ง ตลอดช่วงที่อยู่ช่วยบำรุงเลือด ราก แก้อาเจียนเป็นเลือด และถ่ายเป็นเลือด ผล ตำผสมน้ำใช้เบื่อปลา

คุณค่าทางโภชนาการของตับเต่าต้น

การแปรรูปของตับเต่าต้น

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11835&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment