สรรพคุณทางยาของกำแพงเจ็ดชั้น ผลสามารถรับประทานได้

กำแพงเจ็ดชั้น

กำแพงเจ็ดชั้น ชื่อเรียกอื่น ตาไก้ (พิษณุโลก) น้ำนอง, มะต่อมไก่ (ภาคเหนือ) หลุมนก (ภาคใต้) ตะลุ่มนก (ราชบุรี) มีชื่อวิทาศาสตร์ว่า Salacia chinensis L. อยู่ในวงค์ CELASTRACEAE เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเป็นรูปรี กลีบดอกสีเหลืองหรือสีเขียวอมเหลือง ผลสุกสีส้มแดง ผลสามารถนำมารับประทานได้

กำแพงเจ็ดชั้น
กำแพงเจ็ดชั้น ไม้พุ่มรอเลื้อย ใบเดี่ยวรูปรี

สรรพคุณทางยาของกำแพงเจ็ดชั้น

  • ราก แก้ประจำเดือนมาไม่ปกติ ขับลม รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ลำต้น แก้ปวดเมื่อย เป็นยาระบาย ขับลม ขับโลหิตระดู แก้ไข้ แก้ปวดบวมตามข้อ แก้ประดง
  • ใบ ขับโลหิตระดู ขับน้ำคาวปลา มวนบุหรี่สูบ รักษาโรคริดสีดวงจมูก
  • ดอก แก้บิดมูกเลือด
  • ต้น ต้มน้ำดื่ม แก้ปวดเมื่อย เป็นยาระบาย หรือเข้ายาระบาย (ผสมกับรากตูมกาขาว รากชะมวงและรากปอด่อน) รักษาโรคตับอักเสบ (ผสมกับเปลือกต้นมะดูก) แก้หืด (ผสมกับแก่นพลับพลา แก่นโมกหลวง ต้นสบู่ขาว ต้นพลองเหมือด แก่นจำปา และต้นคำรอก) แก้เบาหวาน (ผสมกับรากทองพันชั่ง หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ หัวร้อยรู แก่นสัก และหญ้าชันกาดทั้งต้น)

สรรพคุณตามตำราพื้นบ้าน/ข้อมูลของปราชญ์พื้นบ้าน

  • ลำต้น เข้าตำรับยามะเร็ง ดองเหล้าดื่มบำรุงกำลัง บดผงผสมน้ำผึ้งกินบำรุงกำลัง (ลำพูน) เปลือกต้น เข้าตำรับยาต้มดื่มบำรุงกำลัง (ลำพูน)

ตำรับยา

  • ราก รสเมาเบื่อฝาด ต้มหรือดองสุราดื่ม ขับโลหิตระดู บำรุงโลหิต ดับพิษร้อนของโลหิต แก้ลมอัมพฤกษ์ รักษาโรคตา บำรุงน้ำเหลือง ใบ แก้มุตกิด ขับระดู ดอก แก้บิดมูกเลือด แก่นและราก ต้มน้ำดื่มเป็นยาระบายแก้เส้นเอ็นอักเสบ

ส่วนที่ใช้ทำยา :  ลำต้น เปลือกต้น
รสยา : ต้น รสเมาเบื่อฝาดสุขุม

จังหวัดนครราชสีมา ใช้ ลำต้น บำรุงโลหิต โดยใช้ลำต้นต้มน้ำดื่มวันละ 1-2 ช้อนชา ก่อนอาหารเช้า-เย็น ชาวกัมพูชาใช้ เถา ต้มน้ำดื่ม แก้โรคเบาหวาน

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12119&SystemType=BEDO
https:// thaibiodiversity.org
https:// botany.wu.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment