ติ้วเกลี้ยง ยอดอ่อนรับประทานเป็นผัก

ติ้วเกลี้ยง

ชื่ออื่นๆ : ขี้ติ้ว, ติ้วใบเลื่อม (เหนือ) กุ่ยฉ่องบ้าง (ลำปาง) ติ้วแดง (สุรินทร์) ติ้วหม่น, ติ้วหมาแหงน, ติ้วหม่อน

ต้นกำเนิด : เกิดตามป่าโปร่ง ป่าเต็งรังทั่วไป

ชื่อสามัญ : ติ้วเกลี้ยง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum cochinchinense (Lour.) Blume

ชื่อวงศ์ : Hypericaceae

ลักษณะของติ้วเกลี้ยง

ต้น ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงใหญ่ ผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ด สีเทาอมน้ำตาล เปลือกต้นด้านในสีเหลืองอ่อน ลำต้นเปลาตรง มีน้ำยางสีเหลืองแกมแดง มีหนามแหลมยาว แข็งเป็นเนื้อไม้ ออกตามลำต้น

ต้นติ้วเกลี้ยง
ต้นติ้วเกลี้ยง เปลือกสีเทาปนเหลือง แตกเป็นสะเก็ด

ใบ  ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปไข่กลับ กว้าง 2-3.5  ซม. ยาว 4.5 – 10 ซม. ปลายแหลม พบบ้างที่ทู่หรือกลม โคนสอบหรือมน ขอบเรียบ แผ่นใบบางคล้ายกระดาษถึงกึ่งหนาคล้ายแผ่นหนัง เกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านล่างมักมีนวล เส้นแขนงใบข้างละ 10-18 เส้น ปลายเชื่อม กันก่อนถึงขอบใบ ก้านใบยาว 2-4 มม

ใบติ้วเกลี้ยง
ใบติ้วเกลี้ยง ใบรูปไข่กลับ ปลายแหลม

ดอก เป็นดอกเดี่ยว หรือออกเป็นกระจุก 2-5 ดอก ที่ซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกสมบูรณ์เพศ ใบประดับขนาดเล็ก ร่วงง่าย ดอกมีกลิ่นหอม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.2 ซม. ก้านดอกยาว ประมาณ 1 มม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกเป็น 2 วง วงนอก 3 กลีบ ตรงกลางกลีบสีม่วงแดง ขอบสีเขียว ขนาดกลีบใหญ่กว่าวงในเล็กน้อย กลีบวงในมี 2 กลีบ สีเขียว รูปไข่ หรือรูปไข่กลับ กว้าง 4-5 ซม. ยาว 5-7 ซม. กลีบดอก 5 กลีบ แยกจากกัน สีส้ม หรือส้มแดง รูปไข่กลับ กว้าง 3-4 มม. ยาว 6-7 มม. ผิวกลีบเกลี้ยง มีเส้นสีม่วงแดง ถึงดำ ตามยาว เกสรเพศผู้จำนวนมาก เชื่อมติดกันเป็น 3 กลุ่ม สลับกับกลุ่มเกสรเพศผู้ที่ไม่สมบูรณ์ 3 อัน ลักษณะเป็นก้อน อวบน้ำ สีเหลือง รังไข่อยู่เหนือวงกลีบเกลี้ยง มี 3 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก ก้านเกสรเพศเมีย 3 อัน แยกจากกัน ออกดอกและติดผลตลอดปี

ดอกติ้วเกลี้ยง
ดอกติ้วเกลี้ยง ดอกเดี่ยว กลีบดอกสีม่วงแดง ขอบสีเขียว

ผล แบบผลแห้งแตก รูปวงรี แข็ง เกลี้ยงเป็นมัน กว้าง 7-8 มม. ยาว 10-12 มม. กลีบเลี้ยงติดทน หุ้ม 2 ใน 3 ของความยาวผล ผลแก่แตกตามรอยประสาน เป็น 3 พู

ผลติ้วเกลี้ยง
ผลติ้วเกลี้ยง ผลแห้งแตก รูปวงรี แข็ง เกลี้ยงเป็นมัน

การขยายพันธุ์ของติ้วเกลี้ยง 

การใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ติ้วเกลี้ยงต้องการ

ประโยชน์ของติ้วเกลี้ยง

  1. ยางติ้วใช้ทารักษาส้นเท้าแตก
  2. ไม้ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอยู่ไฟ
  3. ปลูกเป็นไม้ประดับ ให้ร่มเงา
  4. เนื้อไม้ทำเครื่องมือการเกษตร
  5. เปลือกต้น ใช้ทำสีย้อม
  6. ใบอ่อนและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวค่อนข้างฝาด รับประทานเป็นผักสด

สรรพคุณทางยาของติ้วเกลี้ยง

  • ต้นหรือราก ผสมลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่ม แก้กระษัยเส้น เป็นยาระบาย
  • เปลือกต้น ใช้รักษาอาการเสียดท้อง หรืออาการเกี่ยวกับลำไส้
  • น้ำยางจากเปลือก ที่เปลี่ยนเป็นสีแดง ใช้รักษาโรคหิด

คุณค่าทางโภชนาการของติ้วเกลี้ยง

การแปรรูปของติ้วเกลี้ยง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=12120&SystemType=BEDO
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment