ติ้วแดง ไม้ทำเสาทำด้ามเครื่องมือ ยอดนำมารับประทาน

ติ้วแดง

ชื่ออื่นๆ : ขี้ติ้ว, ติ้วใบเลื่อม (เหนือ), ติ้วแดง (สุรินทร์), ติ้วหม่น

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : ติ้วเกลี้ยง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum

ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE

ลักษณะของติ้วแดง

ต้น จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
ใบ มนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ โตออกปลายสุดสอบเข้าเนื้อบาง หลังใบมีขน ส่วนท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น
ดอก ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ
ผล รูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล

ต้นติ้วแดง
ลำต้นเปลาตรง มีน้ำยางสีเหลืองแกมแดง

การขยายพันธุ์ของติ้วแดง

ใช้เมล็ด/

ธาตุอาหารหลักที่ติ้วแดงต้องการ

ประโยชน์ของติ้วแดง

ไม้เอาเผาถ่านให้ความร้อนดี ดีกว่า ไม้กะบก และขี้เถ้าน้อย ไม้ทำเสาทำด้ามเครื่องมือ น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า  ยอดนำมากิน เป็นผักกับอาหารหลายอย่าง

สรรพคุณทางยาของติ้วแดง

ยาพื้นบ้านอีสานใช้
ต้นหรือราก ผสมลำต้นกำแพงเจ็ดชั้น ต้มน้ำดื่ม แก้กระษัยเส้น เป็นยาระบาย
เปลือกต้น ใช้ทำสีย้อม
ใบอ่อนและยอดอ่อนมีรสเปรี้ยวค่อนข้างฝาด รับประทานเป็นผักสด
ไม้ ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอยู่ไฟ
ตำรายาไทย
เปลือกต้น ใช้รักษาอาการเสียดท้อง หรืออาการเกี่ยวกับลำไส้
น้ำยางจากเปลือก ที่เปลี่ยนเป็นสีแดง ใช้รักษาโรคหิด
ชาวมาเลเซีย ใช้ เปลือก และใบ ผสมกับน้ำมันมะพร้าวช่วยบำรุงผิว

ยอดและดอกติ้วแดง
ยอดติ้วมีสีแดง ใบสีเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของติ้วแดง

การแปรรูปของติ้วแดง

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11837&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment