ตีนนก เนื้อไม้ใช้ก่อสร้าง สรรพคุณทางยา ช่วยขับลม

ตีนนก

ชื่ออื่นๆ : ตีนนก (เหนือ) สมอตีนเป็ด, สมอนน (ประจวบคีรีขันธ์) สมอหลวง (ชลบุรี) สวองใหญ่, สวองหิน (สระบุรี)

ต้นกำเนิด : พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณชื้น และป่าดิบแล้งทั่วทุกภาค ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-400 เมตรหนาแน่นตามป่าชายหาด

ชื่อสามัญ : ตีนนก

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vitex pinnata Linn.

ชื่อวงศ์ : LABIATAE

ลักษณะของตีนนก

ต้น ต้นสูง 10-24 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทรงสูงถึงค่อนข้างกลม บางครั้งแผ่กว้าง เปลือกสีเทาอมเหลือง แตกสะเก็ดล่อนเป็นแผ่นยาว เปลือกชั้นในสีเหลืองอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีเขียวในเวลาต่อมา กิ่งอ่อน ใบอ่อน ก้านใบ และช่อดอก มีขนสั้น ๆ

ใบ ใบประกอบรูปมือ มีใบย่อย 3-5 ใบ ก้านใบยาว 5-10 เซนติเมตร แผ่นใบย่อยรูปรี รูปไข่ ถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-10 เซนติเมตร ยาว 5-27.5 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนเกลี้ยง หรือมีขนประปรายตามเส้นใบ ผิวใบด้านล่างมีขนปลายทู่ถึงแหลมหรือบางครั้งเรียวแหลม โคนสอบและมักเรียวแคบ เส้นแขนง 8-12 (-20) คู่

ดอก ดอกสีขาวอมฟ้าหรือแกมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง

ผล ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร แก่สุกสีม่วงคล้ำถึงดำ

ต้นตีนนก
ต้นตีนนก ต้นสูง เปลือกสีเทาอมเหลือง แตกสะเก็ด
ใบตีนนก
ใบตีนนก ใบประกอบรูปมือ มีใบย่อย 3-5 ใบ

การขยายพันธุ์ของตีนนก

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตีนนกต้องการ

ประโยชน์ของตีนนกยาขับลมในลำไส้

เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน และทำเครื่องมือเครื่องใช้ทั่วไป เช่น เสา กระดานพื้น รอด ตง ครก สาก พาย กรรเชียง พานท้าย และรางปืน เป็นต้น

ดอกตีนนก
ดอกตีนนก ดอกสีขาวอมฟ้าหรือแกมม่วงอ่อน

สรรพคุณทางยาของตีนนก

  • ใช้เป็นยาขับลมในลำไส้
  • ใบ ใช้ตำแล้วพอกแผล
  • ผล ใช้แก้อาการบิด
  • ราก ช่วยขับลม
ผลตีนนก
ผลตีนนก ผลกลม ผลดิบสีเขียว ผลสุกสีดำคล้ำ

คุณค่าทางโภชนาการของตีนนก

การแปรรูปของตีนนก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9305&SystemType=BEDO
http:// www.botany.sc.chula.ac.th
https://www.flickr.com

Add a Comment