ต้นกุ่ม กุ่มบก กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน

ต้นกุ่ม

ชื่ออื่นๆ :  ต้นกุ่มบก, ต้นกกุธะ ส่วนชาวฮินดูจะเรียกว่า มารินา, สะเบาถะงัน, ผักก่าม (อีสาน) เดิมถะงัน (เขมร)

ต้นกำเนิด : ประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตามเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกใต้

ชื่อสามัญ : ต้นกฤธะ

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Crateva adansonii subsp. trifoliata (Roxb.) Jacobs

ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE

ลักษณะของต้นกุ่ม

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงประมาณ 6-10 เมตร ลำต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา เปลือกต้นหนาค่อนข้างเรียบ มีเนื้อไม้หนาขาวปนเปลือง เนื้อละเอียด มักขึ้นตามที่ดอนและในป่าผลัดใบ

ต้นกุ่ม
ต้นกุ่ม ลำต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอมเทา

ใบ มีใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยอยู่ 3 ใบ ก้านใบประกอบมีความยาวประมาณ 7-9 เซนติเมตร ส่วนใบย่อยมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี มีความกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7.5-11 เซนติเมตร ปลายเรียวแหลมหรือแหลม ส่วนโคนใบแหลมหรือสอบแคบ ขอบใบเรียบ ใบย่อยที่อยู่ด้านข้างโคนใบเบี้ยว แผ่นใบค่อนข้างหนา มีเส้นแขนงของใบข้างละ 4-5 เส้น ที่ก้านใบย่อยมีความยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร

ใบกุ่ม
ใบกุ่ม ใบรูปไข่หรือรูปรี ปลายเรียวแหลม

ดอก ช่อดอกเป็นแบบช่อกระจะ ออกบริเวณตามง่ามใบใกล้กับปลายยอด ก้านดอกมีความยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยงรูปรี มีความกว้างประมาณ 2-3 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร เมื่อแห้งมักเป็นสีส้ม กลีบดอกมีสีขาวอมเขียวแล้วจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีชมพูอ่อน กลีบดอกเป็นรูปรี กว้างประมาณ 0.8-1.5 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตร ที่โคนกลีบดอกเป็นเส้นคล้ายก้าน ยาวประมาณ 3-7 มิลลิเมตร มีเกสรตัวผู้สีม่วงอยู่ประมาณ 15-22 อัน ส่วนก้านชูอับเรณูมีความยาวประมาณ 4 เซนติเมตร และก้านชูเกสรตัวเมียมีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ส่วนรังไข่มีลักษณะค่อนข้างกลมหรือรี มี 1 ช่อง ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ

ดอกกุ่ม
ดอกกุ่ม ดอกสีขาวอมเขียว

ผล ผลมีลักษณะกลมหรือเป็นรูปไข่ มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3.5 เซนติเมตร เปลือกมีจุดแต้มสีน้ำตาลอมแดง ผิวนอกแข็งและสาก เมื่อผลแก่เปลือกจะเรียบและมีสีน้ำตาล ส่วนก้านผลกว้างประมาณ 2-4 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 5-13 เซนติเมตร ด้านในผลมีเมล็ดจำนวนมาก

เมล็ด เมล็ดมีลักษณะคล้ายรูปเกือกม้าหรือรูปไต ผิวเรียบ ขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 6 มิลลิเมตร

ผลกุ่ม
ผลกุ่ม ผลกลม สีเขียว

การขยายพันธุ์ของต้นกุ่ม

การเพาะเมล็ด, การตอนกิ่ง และการปักชำ

สำหรับในประเทศไทยสามารถพบต้นกุ่มได้มากทางภาคใต้และภาคกลาง เช่น จังหวัดกระบี่ ชุมพร พังงา และระนอง

ธาตุอาหารหลักที่ต้นกุ่มต้องการ

ประโยชน์ของต้นกุ่ม

โดยทั่วไปแล้วคนไทยสมัยก่อนมักปลูกต้นกุ่มไว้เป็นอาหารและเป็นยาสมุนไพรรักษาโรคมีความเชื่อว่าต้นกุ่มจัดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง เพราะมีความเชื่อว่าการปลูกต้นกุ่มเป็นไม้ประจำบ้านจะช่วยทำให้ครอบครัวมีฐานะมั่นคง เป็นกลุ่มเป็นก้อน เหมือนชื่อของต้นกุ่ม โดยจะนิยมปลูกไว้ทางทิศตะวันตกของบ้าน

สรรพคุณทางยาของต้นกุ่ม

ส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพรได้แก่ ผล, ใบ, ดอก, เปลือกต้น, กระพี้, แก่น, ราก และเปลือกราก

  • ใบ  ขับลม ฆ่าแม่พยาธิ เช่น พวกมะตอย และทาแก้กลากเกลื้อน
  • เปลือก  ร้อน ขับลม แก้นิ่ง แก้ปวดท้อง ลงท้อง คุมธาตุ ใช้ทาภายนอก แก้โรคผิวหนัง
  • กระพี้  ทำให้ขี้หูแห้งออกมา
  • แก่น  แก้ริดสีดวง ผอม เหลือง
  • ราก  แก้มากษัย อันเกิดแต่กองลม
ภายในผลกุ่ม
ภายในผลกุ่ม เนื้อข้างในสีเหลือง เม็ดสีขาว

คุณค่าทางโภชนาการของต้นกุ่ม

การแปรรูปของต้นกุ่ม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9191&SystemType=BEDO
http://ecoforest.phsmun.go.th
https://th.wikipedia.org
http://www.rspg.or.th
https://www.flickr.com

One Comment

Add a Comment