ต้นตาล ไม้ยืนต้นอายุยืน ผลให้สีเหลืองนำมาทำขนม

ต้นตาล

ชื่ออื่นๆ : ตะนอด (เขมร) โหนด (ใต้) ตาลโตนด, ตาล, ตาลใหญ่ (กลาง) ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน) ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ตาลนา, ปลีตาล (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ : Palmyra palm, Lontar palm ,Fan palm, Brab palm

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Borassus flabellifer L.

ชื่อวงศ์ : Palmae

ลักษณะของต้นตาล

ต้น : เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืน ลำต้น เดี่ยวไม่แตกกิ่งก้านสาขา ลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้ม – ดำ ซึ่งจะมีกาบขอบใบติดอยู่ประมาณ 5 เมตร ลักษณะของเนื้อไม้เป็นไม้เนื้อแข็ง มีเสี้ยนสีดำอัดกันแน่นด้านในสูงประมาณ 15 เมตรและจะมีใบออกที่ยอด

ใบ : คล้ายพัดปลายใบแหลมสีเขียว ระหว่างใบจะมีก้านใบแข็งและเชื่อมติดกันคล้ายรูปตัววี ลักษณะก้านใบสีเขียว เมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลเข้ม เช่นเดียวกับใบขอบก้านใบคล้ายฟันเลื่อย แต่จะป้านกว่า ความยาวประมาณ 1.5 – 2 เมตร การเรียงตัวของใบอัดกันแน่นเป็นเกลียว เมื่อใบแก่เต็มที่จะร่วงหล่นทั้งก้านและใบ รสชาติ รสหอมสุขุม

ดอก : สีขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงระหว่างกาบใบ ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น ช่อละ 8 – 16 ดอกดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ดอกออกเดือนธันวาคม

ผล : ผลสดแบบมีเนื้อเมล็ดเดียว ผลติดเป็นกลุ่มแน่น ทรงกลม สีน้ำตาลถึงม่วงเข้ม ปลายผลสีเหลือง
ผิวมัน ขนาด 15-20 เซนติเมตร ผลสุกสีดำ ติดผลง่าย ออกผลมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายนต้นตาล

ต้นตาล เป็นสีน้ำตาลเข้ม – ดำ

งวงตาลอ่อน
งวงตาลอ่อน เนื้อข้างในสีขาว มีรสหวาน กรอบ

การขยายพันธุ์ของต้นตาล

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นตาลต้องการ

ประโยชน์ของต้นตาล

  • น้ำหวานจากงวงตาล นำมาเป็นน้ำตาลมะพร้าว ทำเครื่องดื่มที่ เรียกว่าน้ำตาลเมา เนื้อจากผลมีสีเหลืองใช้แต่งสีอาหาร อาทิ ขนมตาล
  • เมล็ดอ่อน กินเป็นอาหารหวาน ที่เรียกว่า ลอนตาล
  • เมล็ดแก่ เมื่อนำมาเพาะให้งอกภายในเมล็ดมีคัพภะ เรียกว่า จาวตาลนำมาเชื่อมกินเป็นของหวาน
  • ใบ ใช้มุงหลังคา
  • ลำต้น ใช้ทำเสาหรือหลักสำหรับจอดเรือ
  • ปลีตาลหรืองวงตาลอ่อน นำมาทำทานได้ ทำเป็นเมนูผัดหรือแกง ชาวเหนือนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
ผลตาล
ผลตาล ผลทรงกลม สีน้ำตาลถึงม่วงเข้ม

สรรพคุณทางยาของต้นตาล

ต้นตาลมีประโยชน์ในการเป็นยาสมุนไพร เพื่อรักษาโรคได้หลายอย่างดังนี้

1. งวงตาล  หรือ ช่อดอกตัวผู้ นำไปต้มน้ำกินแก้ตานขโมยในเด็ก ช่วยขับพยาธิ แก้ร้อนใน ปากเป็นแผล เป็นยาขับปัสสาวะ และตากแห้งต้มกับส่วนผสมอื่นๆเป็นยาบำรุงกำลัง

2. กาบตาล  หรือก้านใบ บางคนเรียกว่า ทางตาล หากเป็นก้านใบสดให้นำมาอังไฟหรือย่างแล้ว ปั่นเอาแต่น้ำรับประทาน แก้ท้องร่วง แก้ปวดเมื่อย หรืออมแก้โรคปากเปื่อย

3. ใบตาล ใช้แก้อาการกระสับกระส่าย สำหรับสตรีหลังคลอดบุตร คนโบราณนำใบตาลมาคั่วให้เหลืองแล้วบดเป็นผง  ใช้สูบหรือเป่าก็ได้ ช่วยลดความดันโลหิต

4. รากตาล  มีรสหวานเย็นนำมาต้มน้ำดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้พิษซางตานในเด็ก บางคนใช้เป็นยาชูกำลัง ช่วยขับเลือด ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ เป็นต้น

คุณค่าทางโภชนาการของต้นตาล

การแปรรูปของต้นตาล

สำหรับต้นตาลตัวผู้และต้นตาลตัวเมีย ในปัจจุบันต้นตัวเมียจะให้ผลผลิตที่มีมูลค่ามากกว่าต้นตัวผู้ โดยเฉพาะผลผลิตของจาวตาลที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นจาวตาลเชื่อมได้

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10059&SystemType=BEDO
www.tontan51.wordpress.com,www.maenoicurry.com, www.nakhonpathom.go.th, www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment