ตีนเป็ดน้ำ ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงา

ตีนเป็ดน้ำ

ชื่ออื่นๆ : ตีนเป็ดทะเล, ตุม (กาญจนบุรี) พะเนียงน้ำ, สั่งลา (กระบี่) มะตะกอ (มลายู นราธิวาส)

ต้นกำเนิด : อินเดีย ถึงตอนใต้ของจีน

ชื่อสามัญ : Pong pong

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cerbera odollam Gaertn.

ชื่อวงศ์ : APOCYNACEAE

ลักษณะของตีนเป็ดน้ำ

ต้น เป็นไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดเล็ก ทรงร่ม เรือนยอดเป็นทรงกลมทึบ มีความสูงของต้นประมาณ 5-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งต่ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา มีช่องระบายอากาศเป็นร่องยาว มีน้ำยางสีขาวข้น ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดแก่ (เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด) ปลูกได้ดีในดินทั่วไป ชอบแสงแดดเต็มวัน เจริญเติบโตได้เร็ว ไม่ต้องการการดูแลมาก มักพบขึ้นตามบริเวณริมน้ำ ตามป่าชายเลน ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายหาด

ใบ เป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ลักษณะของใบเป็นรูปรียาวหรือเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่ ปลายใบมีติ่งหรือหางใบแหลม โคนใบสอบหรือเป็นรูปลิ่ม ส่วนขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 8.9-30 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวเข้ม หลังใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน มีเส้นแขนงใบประมาณ 12-25 เส้น เห็นเส้นใบได้ชัดเจน ส่วนท้องใบเรียบ ก้านใบยาวประมาณ 3 เซนติเมตร

ดอก ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อดอกยาวประมาณ 8-35 เซนติเมตร แต่ละช่อมีดอกหลายดอก ประมาณ 10-14 ดอก ดอกย่อยเป็นสีขาว ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ก้านดอกยาวประมาณ 1-4 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ เรียงซ้อนทับกันด้านซ้ายในตาดอก ปลายกลีบดอกแหลม ดอกบานมีแต้มเหลืองรอบปากหลอดกลีบดอก หลอดกลีบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แฉกกลีบยาวประมาณ 1.2-3.8 เซนติเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ 5 ก้านติดกลางหลอดกลีบดอก ส่วนกลีบรองดอกหรือกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอก กลีบยาวประมาณ 0.8-2.5 เซนติเมตร ปลายกลีบเรียวแหลม เมื่อดอกบานเต็มที่จะมีขนาดกว้างประมาณ 6-7 เซนติเมตร

ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลม หรือค่อนข้างกลมรีเป็นสองพูตื้น ๆ ผลเป็นผลสดแบบมีเนื้อ มีขนาดกว้างประมาณ 6 เซนติเมตรและยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ผิวผลเรียบเนียนเป็นมันและมีจุดเล็ก ๆ สีขาวกระจายทั่วไป ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้มถึงสีม่วงเข้ม ภายในผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ประมาณ 1-2 เมล็ด เมล็ดแข็ง เบา และลอยน้ำได้

ต้นตีนเป็ดน้ำ
ต้นตีนเป็ดน้ำ เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา

การขยายพันธุ์ของตีนเป็ดน้ำ

การเพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ตีนเป็ดน้ำต้องการ

ประโยชน์ของตีนเป็ดน้ำ

ต้นตีนเป็ดน้ำมีทรงพุ่มสวยงาม ผลและดอกสวย ดอกมีกลิ่นหอม ใบไม่ค่อยหลุดร่วง จึงใช้ปลูกเป็นไม้ให้ร่มเงาตามลานจอดรถหรือริมถนนได้ หรือจะใช้ปลูกเป็นไม้ประดับตามริมสระว่ายน้ำ ริมทะเล ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน แต่ยางจากต้นเป็นอันตรายจึงไม่ควรปลูกใกล้กับสนามเด็กเล่นหรือบริเวณที่มีเด็กอยู่

ดอกตีนเป็ดน้ำ
ดอกตีนเป็ดน้ำ ดอกสีขาว มีกลิ่นหอม

สรรพคุณทางยาของตีนเป็ดน้ำ

  • ราก รสเฝื่อน ขับเสมหะ ขับผายลม แก้ลมให้กระจาย แก้ลม แก้อาเจียน
  • เปลือกต้น รสจืดเฝื่อน เป็นยาถ่าย ทำให้อาเจียน แก้ไข้เพื่อดีพิการ แก้บิด ขับไส้เดือน แก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ สมานสำไส้ แก้ไข้ แก้นิ่ว
  • แก่น รสเฝื่อน กระจารยลมอันฑพฤกษ์ กระจายลม กระจายเลือด แก้ลมอัณฑพฤกษ์ แก้อัมพาต
  • ใบ รสเฝื่อน แก้ไข้หวัด แก้ไข้ตัวร้อน ฆ่าพยาธิกลากเกลื้อน แก้กลาก ฆ่าพยาธิผิวหนัง แก้เกลื้อน ทำให้อาเจียนเป็นยาถ่าย แก้อาเจียนเป็นโลหิต
  • เมล็ด รสเฝื่อนเมา ใช้เบื่อปลามีฤทธิ์ต่อหัวใจ มียาบำรุงหัวใจ ทำให้อาเจียน เป็นยาถ่ายทำให้แท้งได้
ผลตีนเป็ดน้ำ
ผลตีนเป็ดน้ำ ผลอ่อนสีเขียว ทรงกลม

คุณค่าทางโภชนาการของตีนเป็ดน้ำ

การแปรรูปของตีนเป็ดน้ำ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9710&SystemType=BEDO
www.flickr.com

4 Comments

Add a Comment