ต้นทองแมว ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีหนามแหลม ดอกสีเหลือง

ต้นทองแมว

ชื่ออื่นๆ : คางแมว, ซองแมว, ส้มแมว 

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญGmelina asiatica

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gmelina elliptica Sm.

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะของต้นทองแมว

ต้น  ไม้พุ่มหรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ต้นสูง 2-4 เมตร มีหนามแหลม

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน รูปไข่กว้าง โคนใบกลมเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายแหลม ขอบจักเล็กน้อย มีขนนุ่มทั้งสองด้าน มีเส้นนูนตามท้องใบ 3 เส้น ยาว 12-15 เซนติเมตร

ดอก  ดอกช่อ ออกดอกที่ปลาย กิ่ง ดอกย่อย จำนวนน้อยถึงหลายดอก กลีบดอกสีเหลือง ออกตลอดปี

ผล  ผลสด รูปกระสวยแกมไข่ เมื่อสุกมีสีเหลือง ฉ่ำน้ำ

ต้นทองแมว
ต้นทองแมว ไม้พุ่ม กิ่งมีหนามแหลม ใบกลมเว้าเป็นรูปหัวใจ
ดอกทองแมว
ดอกทองแมว กลีบดอกสีเหลือง

การขยายพันธุ์ของต้นทองแมว

เพาะเมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นทองแมวต้องการ

ประโยชน์ของต้นทองแมว

ปลูกเป็นไม้ดอกไม้ประดับ

สรรพคุณทางยาของต้นทองแมว

ดอก ผสมใบแจงสารส้ม ใช้น้ำเขี้ยวบึ้งเป็นกระสาย เอาหยอดแก้ตาฟาง ต้อกระจก
ราก  แก้ปวดเมื่อย บำรุงเลือด ขับน้ำคาวปลา ดอกแก้ตาฟาง รักษาต้อกระจก อีกทั้งเปลือกต้นทำเชือกได้

ผลทองแมว
ผลทองแมว ผลสดสีเขียว เมื่อสุกสีเหลือง

คุณค่าทางโภชนาการของต้นทองแมว

การแปรรูปของต้นทองแมว

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=11281&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment