ปรู๋ ต้นปรู๋ ผลรับประทานได้ เนื้อไม้มีความเหนียวและมีลายสวยงาม

ปรู๋

ชื่ออื่นๆ :  ปู๋ (ภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ) ปรู, ปลู, ผลู (ภาคกลาง) มะเกลือกา (ปราจีนบุรี) มะต๋าปู๋ (เชียงใหม่)

ต้นกำเนิด :

ชื่อสามัญ :

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Alangium salviifolium (L.f.) Wangerin. subsp. hexapetalum Wangerin

ชื่อวงศ์ :  ALANGIACEAE

ลักษณะของปรู๋

ต้นปรู๋  ไม้ยืนต้น ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 5-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด แก่นสีน้ำตาล กระพี้สีค่อนข้างเหลือง กิ่งอ่อนและใบอ่อนมีขน

ต้นปรู๋
ต้นปรู๋ ลำต้นสูง 5-15 เมตร
ลำต้นปรู๋
ลำต้นปรู๋ ปลือกสีน้ำตาลเทา เรียบหรือแตกเป็นสะเก็ด

ใบปรู๋  ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่กลับรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ กว้าง 2.5-7 เซนติเมตร ยาว 5-15 เซนติเมตร ปลายกว้างและเป็นติ่งสั้น โคนสอบเรียว ขอบใบเรียบ มีเส้นแขนงใบ 3-5 เส้นออกจากโคนใบ เห็นชัดมากบริเวณท้องใบ ก้านใบยาว 0.5-1 เซนติเมตร

ใบปรู๋
ใบปรู๋ ใบรูปไข่กลับรูปขอบขนาน หรือรูปหอกกลับ

ดอกปรู๋ ดอกช่อ สีขาวนวล กลิ่นหอมอ่อนๆ ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันปลายแยก 5-7 กลีบ กลีบเลี้ยง ส่วนโคนกลีบจะเชื่อมติดกันเป็นท่อรูปกรวย ส่วนปลายกลีบจะแยกออกเป็นแฉก ขนาดยาวประมาณ 0.2-0.5 เซนติเมตร ดอกมีขนขึ้นประปราย

ดอกปรู๋
ดอกปรู๋ สีขาวนวล ออกเป็นกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลใบ

ผลปรู๋ รูปกลมรี ออกเป็นกระจุก กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อเริ่มสุกจะเป็นสีแดง ผลสุกมาๆจะเป็นสีดำ ปลายผลมีกลีบเลี้ยง และกลางผลจะมีสันแข็งตลอดความยาวของผล ผลแห้งไม่แตก ผลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน

ผลปรู๋
ผลปรู๋ รูปกลมรี ออกเป็นกระจุก
ผลปรู๋สุก
ผลปรู๋เมื่อสุกจะเป็นสีดำ เนื้อผลสีขาวใส

การขยายพันธุ์ของปรู๋

การเพาะเมล็ด

พบขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบเขา หรือป่าชายเลน

ธาตุอาหารหลักที่ปรู๋ต้องการ

ประโยชน์ของปรู๋

  • ผลรสหวานอมเปรี้ยว รับประทานได้
  • เนื้อไม้ของต้นปรู๋มีความเหนียวและมีลายสวยงาม จึงนิยมนำมาใช้ทำพานท้ายปืน ด้ามเครื่องมือทางการเกษตร เครื่องกลึง เครื่องประกอบเกวียน งานแกะสลัก รวมไปถึงเครื่องเรือนต่าง

สรรพคุณของปรู๋

  • แก่น รสจืดเฝื่อน เป็นยาบำรุงกำลัง แก้น้ำเหลือง และแก้ริดสีดวงทวาร
  • เนื้อไม้ รสฝาดเฝื่อน แก้ริดสีดวงลำไส้ และทวารหนัก
  • เปลือกต้น รสฝาด นำมาต้ม เอาน้ำกิน แก้จุกเสียด บำรุงธาตุไฟ แก้ไอ แก้หอบหืด และแก้ท้องร่วง ปิดธาตุ
  • เปลือกราก นำมาตำให้ละเอียด เป็นยาพอก หรือคั้นเอาน้ำล้างแผล แก้โรคผิวหนัง หรือรับประทานเป็นยาแก้พิษ ทำให้เอาเจียน ยาระบาย และเป็นยาช่วยขับพยาธิ บำบัดอาการไข้ และขับเหงื่อ
  • ผล รสร้อนเบื่อ บำรุงธาตุ ขับพยาธิ แก้จุกเสียด

คุณค่าทางโภชนาการของปรู๋

การแปรรูปปรู๋

สามารถติดตามความรู้เเกี่ยวกับการเกษตร เพิ่มเติมได้ที่ เกษตรตำบล.คอม

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ภาพประกอบ : www.flickr.com, ศูนย์การเรียนรู้อุทยาน พรรณไม้

One Comment

Add a Comment