ต้นพีช (ท้อ) ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ผลรับประทานสด

ต้นพีช (ท้อ)

ชื่ออื่นๆ : ท้อ , ลูกท้อ

ต้นกำเนิด : ประเทศจีน

ชื่อสามัญ : พีช

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Prunus persica (L.) Batsch

ชื่อวงศ์ : Rosaceae

ลักษณะของต้นพีช (ท้อ)

ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง ลำต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำ กิ่งหลัก และกิ่งแขนงมีปานกลาง ทำให้เป็นทรงพุ่มโปร่ง ไม่หนาทึบ กิ่งก้านเป็นสีเขียว หรือสีน้ำตาลอมแดง ไม่มีขน

ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบรูปรียาว ปลายใบแหลม ขอบใบหยักฟันเลื่อยเล็กน้อย ใบยาว 8-15 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ก้าวใบยาว 1 เซนติเมตร

ดอก ดอกออกเป็นดอกเดี่ยวตามกิ่ง ดอกสีชมพูอ่อน มี 5 กลีบ กลีบดอกรูปมนรี ปลายกลีบสีแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 เซนติเมตร กลีบดอกยาว 2 เซนติเนตร มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก โคนดอกมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน ออกดอกตอนปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว

ผล ผลรูปกลมรีปลายค่อนข้างแหม ผลมีสีเหลืองอ่อน ปลายผลมีสีแดงเล็กน้อย มีขนสั้นๆสีขาวปกคลุม มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 เซนติเมตร เนื้อในนิ่มและชุ่มน้ำ ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เมล็ดรูปร่างกลมรี สีแดง คล้ายรูปหัวใจ มีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร จะให้ผลในระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม

ต้นพืช
ไม้ยืนต้น ลำต้นแตกกิ่ง เป็นทรงพุ่มโปร่ง
ดอกต้นพืช
ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกเป็นกระจุก ดอกสีขาวอมชมพูและสีแดง

การขยายพันธุ์ของต้นพีช (ท้อ)

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ต้นพีช (ท้อ)ต้องการ

ประโยชน์ของต้นพีช (ท้อ)

ประโยชน์ลูกท้อ/ลูกพีช

1. ลูกท้อหรือลูกพีชใช้เป็นผลไม้รับประทานสด เนื้อผลหนาคล้ายผลแอปเปิ้ล มีสีขาวอมเหลือง มีรสกรอบ หวาน และกลิ่นหอมอ่อนๆ
2. เนื้อลูกท้อหรือลูกพีชแปรรูปทำแยม ลูกท้อดอง ลูกท้อเชื่อม ลูกท้อแช่อิ่ม เป็นต้น โดยเฉพาะลูกท้อขนาดเล็กที่นิยมดองเป็นผลไม้หรือลูกท้อแช่อิ่ม
3. ชาวจีนมักเปรียบกลีบดอกลุกท้อเหมือนแก้มผู้หญิงที่มีสีชมพูอ่อน นอกจากนั้น ยังถือว่าต้นลูกท้อเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ โดยหมอผีหรือผู้เฒ่ามักใช้กิ่งลูกท้อปักยื่นในทิศตะวันออกหรือทิศใต้เพื่อใช้เป็นไม้บังคับ ส่วนใบลูกท้อนิยมใช้ผสมลงในหม้อยาหรือหม้อน้ำมนต์สำหรับพรมขับไล่ผี และวันขึ้นปีใหม่ อีกทั้งชาวจีนยังนิยมดื่มน้ำลูกท้อหรือนำลำต้น กิ่ง และใบมาต้มน้ำอาบในวันขึ้นปีใหม่ของจีน รวมถึงนำไม้ลูกท้อมาทำเครื่องราง เครื่องประดับแขวนไว้หน้าบ้านสำหรับกันภูตผี ตำนานที่เกี่ยวกับลูกท้อในประเทศจีนกล่าวถึงลุกท้อว่า ลูกท้อสวรรค์จะมีช่วงการสุกที่ประมาณ 3000 ปี/ครั้ง และหากผลท้อสุก เหล่าเทพ และเซียนทั้งหลายจะเข้าแย่งเก็บกินลูกท้อ เพราะเชื่อว่าจะช่วยให้คงกระพัน และความเชื่อเหล่านั้นยังสะท้อนด้วยภาพเขียนรูปเด็กหรือผู้เฒ่ายืนถือลูกท้อ ชื่อว่า เหลาซี แปลว่า ผู้สูงอายุหรือผู้มีอายุยืนยาว มีลักษณะเด่นที่ หน้าผากกว้างยาวกว่าคนปกติ [1] อ้างถึงใน นิตยาสารสารคดี (2537) ทั้งนี้ การรับประทานลูกท้อหรือลูกพีช ควรนำลูกท้อมาล้างน้ำ และขัดขนออกก่อนหรือใช้เศษผ้าขัดขน ก่อนนำมาล้างน้ำ เพราะหากรับประทานขณะที่มีขน อาจทำให้ระคายเคืองคอได้

ผลพีช
ผลกลม มีขนปกคลุมบริเวณผิว ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกเป็นสีชมพู

สรรพคุณทางยาของต้นพีช (ท้อ)

คุณค่าทางโภชนาการของต้นพีช (ท้อ)

คุณค่าทางโภชนาการลูกท้อ (ผลสุก 100 กรัม)
น้ำกรัม  88.87
พลังงานกิโลแคลอรี่  39
โปรตีนกรัม  0.91
ไขมันกรัม  0.25
คาร์โบไฮเดรตกรัม   9.54
ไฟเบอร์กรัม  1.5
น้ำตาลกรัม  8.39
Minerals
แคลเซียมมิลลิกรัม  6

การแปรรูปของต้นพีช (ท้อ)

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10013&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

2 Comments

Add a Comment