ต้นมะกอกเกลื้อน ต้นมะเลื่อม ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้

มะกอกเกลื้อน

ชื่ออื่นๆ : กอกเหลี่ยม, เกิ้ม, เกื้อม, เหลื่อม, เหลี่ยม, มะเลื่อม (พิษณุโลก, จันทบุรี) มักเหลี่ยม (จันทบุรี) โมกเลื่อม (ปราจีนบุรี) มะกอกเกลื้อน (ราชบุรี) มะเหลี่ยมหิน (มหาสารคาม) มะเกิ้ม (ภาคเหนือ) กอกกัน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มะกอกเลื่อม (ภาคกลาง) มะกอกเลือด (ภาคใต้) มะกอกกั๋น (คนเมือง) มะเกิ้ม (ไทลื้อ) เกิ้มดง, เพะมาง, สะบาง, ไม้เกิ้ม (ขมุ) ซาลัก (เขมร) 

ต้นกำเนิด : จีนตอนใต้ และภูมิภาคอินโดจีน

ชื่อสามัญ : มะกอกเกลื้อน

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Canarium subulatum Guillaumin

ชื่อวงศ์ : BURSERACEAE

ลักษณะของมะกอกเกลื้อน

ต้น ไม้ยืนต้น ลำต้น สูง 10-15 เมตร เปลือกสีน้ำตาล เมื่อสับดูจะมีกลิ่นหอมแรงและมียางสีขาวหรือมีน้ำใสๆ แต่พอแห้งออกสีดำ กะพี้สีเหลืองอ่อนแก่นสีน้ำตาล

ใบ เรียงสลับเวียนกันอยู่เป็นกลุ่มตอนปลายกิ่ง ช่อหนึ่งมีใบย่อย 3-9 ใบ เรียงเป็นคู่ๆ ตรงข้ามหรือทะแยงกันเล็กน้อย ใบย่อยรูปร่างค่อนข้างป้อมขนาดกว้าง 3-9 ซม. ยาว 6-14 ซม. เนื้อใบค่อนข้างหนา โคนใบเบี้ยวปลายใบค่อนข้างสอบ ขอบใบหยักถี่และมักเป็นคลื่นเว้าแหว่ง ท้องใบมีขนสากหรือนุ่มหนาและมีสีขาวมากกว่าหลังใบ เส้นแขนงใบมี 9-15 คู่ เส้นใบย่อยเห็นชัดทั้ง 2 ด้าน ก้านใบย่อยยาว 1-2 ซม. หูใบเรียวเล็ก

ดอก ดอกสีขาวออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง  ช่อดอกเพศผู้และเพศเมียแยกกัน ช่อดอกเพศผู้ยาว 7-25 เซนติเมตร ช่อดอกเพศเมียยาว 8-10 เซนติเมตร กลีบรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ยาว 2.5-3.5 มิลลิเมตร ขอบหยัก เกสรตัวผู้ 6 อัน ในดอกเพศเมียเกสรตัวผู้มีขนาเล็ก ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม

ผล ผล เป็นช่อ ช่อหนึ่ง ๆ มักมีเพียง 1-5 ผล ผลรูปไข่หรือค่อนข้างกลม กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 2.7-3.5 เซนติเมตร รสเปรี้ยว ฝาด เมล็ดใหญ่และแข็งมาก ติดผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม

ต้นมะกอกเกลื้อน
ต้นมะกอกเกลื้อน ไม้ยืนต้น เปลือกสีน้ำตาล

การขยายพันธุ์ของมะกอกเกลื้อน

ใช้เมล็ด

ธาตุอาหารหลักที่ มะกอกเกลื้อนต้องการ

ประโยชน์ของมะกอกเกลื้อน

  1. ผลสดมีรสฝาดเปรี้ยวใช้รับประทานได้ มะกอกเกลื้อนจัดเป็นพืชป่าเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง ประชาชนสามารถเก็บผลมาขายได้ โดยการนำผลมาดองและแช่อิ่มแทนลูกหนำเลี้ยบรับประทาน หรือจะใช้ผลแก่รับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริกก็ได้
  2. เนื้อในเมล็ดสีขาวมีรสมัน ใช้รับประทานได้
  3. ยางสดใช้เป็นเครื่องหอม
ใบมะกอกเกลื้อน
ใบมะกอกเกลื้อน เนื้อใบค่อนข้างหนา โคนใบเบี้ยวปลายใบค่อนข้างสอบ ขอบใบหยักถี่

สรรพคุณทางยาของมะกอกเกลื้อน

  1. ชาวเขาเผ่าแม้วจะใช้มะกอกเกลื้อนทั้งต้นนำมาต้มกับน้ำอาบ ช่วยบำรุงร่างกายให้มีกำลังแข็งแรง (ทั้งต้น)
  2. ตำรายาไทยจะใช้ผลนำมารับประทานเป็นยาแก้ไอ หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกินเป็นยาแก้ไอ (ผล)
  3. ผลใช้รับประทานเป็นยาช่วยขับเสมหะ น้ำลายเหนียว หรือใช้ผลสดหรือผลแห้งนำมาต้มเอาน้ำกิน ส่วนอีกวิธีให้ใช้ผลแห้งนำมาตำให้ละเอียด แล้วนำมาชงกับน้ำกิน (ผล)
  4. ตำรายาพื้นบ้านอีสานจะใช้เปลือกต้นมะกอกเกลื้อนเป็นยารักษาโรคลักปิดลักเปิดหรือโรคเลือดออกตามไรฟัน (เปลือกต้น)
  5. แก่นมีรสเฝื่อนใช้เป็นยาแก้โลหิตระดูพิการ (แก่น)
  6. ยางสดใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการคัน ตุ่มคันหรือเม็ดผื่นคัน (ยาง)
  7. แก่นใช้เป็นยาแก้ประดง (อาการของโรคผิวหนังที่เป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมากและมักมีไข้ร่วมด้วย) (แก่น)
ผลมะกอกเกลื้อน
ผลมะกอกเกลื้อน ผลรูปไข่ ผลดิบสีเขียว ผลแก่สีดำ

คุณค่าทางโภชนาการของมะกอกเกลื้อน

การแปรรูปของมะกอกเกลื้อน

เป็นเครื่องหอม เนื้อในเมล็ดรับประทานเป็นอาหาร ผลนำมาดองแทนลูกหนามเลียบ

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=10216&SystemType=BEDO
https://www.flickr.com

Add a Comment