ต้นสัก เป็นไม้ที่มีคุณค่ามาก เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน

ต้นสัก

ชื่ออื่นๆ : เคาะเยียโอ, ปายี้, เป้อยี, เส่บายี้

ต้นกำเนิด : ประเทศอินเดีย พม่า ลาว และไทย (สวนที่ติดภาคเหนือของไทย)

ชื่อสามัญ : TEAK

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tectona grandis L.f.

ชื่อวงศ์ : VERBENACEAE

ลักษณะของต้นสัก

ลำต้น ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงได้ถึง 30 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปกลมหรือไข่ ลำต้นเปลาตรง โคนต้นมักเป็นพูพอนต่ำ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเรียบหรือล่อนออกเป็นแถบชื้นตามยาว กิ่งอ่อนเป็นรูปสี่เหลี่ยม กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนสีเหลืองรูปดาว

ใบ เดี่ยว เรียงตรงข้าม ใบรูปไข่กลับกว้างหรือรูปไข่ กว้าง 12-35 ซม. ยาว 15-75 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสากด้านล่างมีขนอ่อนนุ่ม เส้นแขนงใบข้างละ 9-14 เส้น ก้านใบยาว 1-5 ซม.

ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงตามปลายกิ่ง ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 3 มม. กลีบเลี้ยง 6 กลีบ กลีบดอกรูปกรวยปลายแยกเป็น 6 กลีบ แผ่บานโค้งไปด้านหลังมีขน เกสรเพศผู้มี 5-6 อัน เกสรเพศเมียยาวเท่าเกสรเพศผู้มี 1 อัน รังไข่มีขนหนาแน่น

ผล แห้งค่อนข้างกลม สีเขียวอ่อนแกมเหลือง ขนาด 1.5-2 ซม. ประกอบด้วยชั้นของกลีบเลี้ยงที่พองกลมบางคล้ายกระดาษห่อหุ้มเมล็ด เมล็ด แข็งขนาด 1 ซม. มีขนคล้ายไหมภายในมี 4 ช่อง มี 1 เมล็ด ในแต่ละช่อง

ต้นสัก
ต้นสัก ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนเรียบ
ใบสัก
ใบสัก ใบเดี่ยว ใบรูปไข่กลับกว้างหรือรูปไข่

การขยายพันธุ์ของต้นสัก

การเพาะเมล็ดและการปักชำ

ธาตุอาหารหลักที่สักต้องการ

ดินแบบตะกอนทับถมที่มีผิวหน้าดินลึกและระบายน้ำดี

ประโยชน์ของต้นสัก

  • ไม้สักเป็นไม้ที่มีคุณค่ามาก เนื้อไม้มีสีเหลืองทอง ใช้ก่อสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องแกะสลัก ทำเครื่องมือทางการเกษตร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี
  • เปลือกรากและใบอ่อน  ให้สีย้อมสีน้ำตาลเหลือง
  • ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์  เป็น พันธุ์ไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัด ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้พระราชทานให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด เพื่อให้นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัดและเพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ใน “โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ” เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 ทรงครบรอบปีที่ 50 ในการครองราชสมบัติ ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 9 พฤษภาคม 2537
ดอกและผลสัก
ดอกและผลสัก ดอกสีขาว ผลกลมสีเขียว

สรรพคุณทางยาของต้นสัก

  • เมล็ด ใช้รักษาโรคตา
  • เปลือกไม้ บรรเทาอาการบวม ปวดศีรษะ
  • ใบอ่อน  หั่นฝอย ตากหรือคั่วให้แห้ง ชงน้ำดื่มช่วยลดน้ำหนัก
  • แก่น  ช่วยขับปัสสาวะ แก้บวมน้ำ แก้ไข้ ใบขับลมในลำไส้ รักษาเบาหวาน

คุณค่าทางโภชนาการของต้นสัก

การแปรรูปของต้นสัก

แหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ : http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view.aspx?id=9383&SystemType=BEDO
www.flickr.com

One Comment

Add a Comment